โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน

ความเป็นมา/พระราชดำริ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร พื้นที่บริเวณดอยม่อนล้าน ณ จุดความสูง 1,360 เมตร ใกล้บ้านอาแย หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไหน่  อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  เนื่องจากได้รับรายงานข้อมูลจากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่  16 กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช  ว่าพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกบุกรุกแผ้วถาง ทำไร่หมุนเวียน เป็นแนวกว้างประมาณ  11,000 ไร่   ถ้าไม่มีการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม พื้นที่ป่าก็จะถูกบุกรุกเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลุ่มน้ำแม่งัดเป็นสาขาของลุ่มน้ำปิงตอนบนและจะเป็นผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดลดลง  ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวเชียงใหม่เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

พื้นที่ดำเนินการ  เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ  อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ครอบคลุมเขตการปกครองของตำบลป่าตุ้ม  และตำบลป่าไหน่  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  จุดที่ตั้งโครงการฯ  พิกัด  UTM    47Q   531850    2148450   แผนที่ระวาง 4847 I  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ  1,400 เมตร มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ  5,561 ไร่ มียอดดอยม่อนล้านเป็นจุดสูงที่สุด  ความสูง 1,696 เมตร  ครอบคลุมลุ่มน้ำสาขา  2  ลุ่มน้ำ  ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่สะลวม  ลุ่มน้ำห้วยโก๋น  ซึ่งไหลลงสู่ลุ่มน้ำแม่งัด

เพิ่มเติม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. จัดตั้งสถานีฯ  เพื่อให้ความรู้แก่ราษฎร  ในการทำการเกษตร   อย่างถูกหลักวิชาการ  โดยใช้พื้นที่อย่างจำกัด  แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น  พอเลี้ยงตนเองได้
2.  ยับยั้งการบุกรุกทำลายป่า  ทำการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของแม่น้ำปิงตอนบน  ให้กลับคืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม
3.  สร้างงานให้ราษฎร  ให้มีอาชีพ มีรายได้ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร  ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
4.  สร้างชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้านให้มีความเข้มแข็งเพื่อต่อต้านปัญหายาเสพติด  และสกัดเส้นทางลำเลียงยาเสพติดที่จะลำเลียงจากพื้นที่ตอนเหนือ ผ่านไปยังอำเภอเมืองเชียงใหม่
5.  พัฒนาสถานีฯ  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และระบบนิเวศน์

เป้าหมายโครงการ

1. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  โดยขอใช้พื้นที่ป่าสงวนที่ถูกบุกรุกแผ้วถางแล้วประมาณ 500 ไร่  เป็นพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ
2. จัดสร้างฝายกักเก็บน้ำ  ท่อส่งน้ำ  และบ่อพักน้ำ  เพื่อนำน้ำมาใช้ทำการเกษตรในพื้นที่โครงการฯ  ให้ได้อย่างต่อเนื่อง
3. ทำการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า บ้านอาบอลาชา, บ้านอาบอเน ตำบลป่าตุ้ม และบ้านอาแย  อำเภอป่าไหน่   อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่  ปีละ 2 รุ่น ๆ  ละ 100 คน โดยทำเป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ปี เพื่อให้ราษฎร  ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้  สัตว์ป่า  บริเวณดอยม่อนล้านและ     เขตอุทยานแห่งชาติศรีล้านนา
4.  จัดทำโครงการปลูกป่าเสริมพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  โดยใช้พื้นที่ที่เหลือจากการจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าให้สมบูรณ์ดังเดิม
5.  จัดตั้งสหกรณ์การเกษตร  เพื่อให้ราษฎรรวมกลุ่ม  ในการบริหารจัดการวางแผนการผลิต และการตลาด  การแปรรูปผลผลิตให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม  เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และการรวมกลุ่มกันจำหน่ายผลผลิตเพื่อไม่ให้ถูกกดราคา
6.  ทำการจ้างงานในชนบท  เพื่อยกระดับรายได้  และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น      โดยตั้งเป้าหมายของการพัฒนาปีแรก  ให้ราษฎรทุกครัวเรือนมีรายได้สูงกว่าเส้นระดับความยากจน        ตามที่ทางราชการกำหนด

งบประมาณ

- ล้านบาท

แผนการดำเนินงาน

แผนการดำเนินงานของสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยม่อนล้าน เป็นศูนย์การเรียนรู้สู่การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้  และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร  ดังนี้
          1.1  ชุมชนเผ่าอาข่า 98 ครอบครัว 3 หมู่บ้าน  ได้แก่  บ้านอาแย  บ้านอาบอลาชา และบ้านอาบอเน  ได้เข้าทำงานในสถานีฯ อย่างต่อเนื่อง  ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 3,500 - 5,000 บาท  เป็น 28,000 - 45,000 บาท/ครอบครัว/ปี  ซึ่งสูงกว่าเส้นระดับความยากจนตามที่ทางราชการกำหนด  ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

เพิ่มเติม

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางการแก้ไข

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแ้ก้ไข

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายสมเกียรติ เจริญสุข  เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7   ส่วนจัดการต้นน้ำ  เบอร์โทรศัพท์   053-214577

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.  หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม   สำนักบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช
2.  ศูนย์วิจัยพืชไร่และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงจังหวัดเชียงใหม่  กรมวิชาการเกษตร
3.  กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7  กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4  กองทัพภาคที่  3 
4.  สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6  กรมพัฒนาที่ดิน
5.  ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด  จ.เชียงใหม่  กรมประมง
6.  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่  กรมปศุสัตว์
7.  ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน จ.เชียงราย  สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
8.  สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่  สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
9.  โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่  กรมชลประทาน
10.  ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร  พื้นที่ภาคเหนือ   กรมส่งเสริมการเกษตร
11.  อำเภอพร้าว  กรมการปกครอง