ความเป็นมา
ในอดีต ราษฎรมีการบุกรุกเผาถางป่าทำไร่เลื่อนลอย บนภูเขาสูง ก่อให้เกิดการพังทลายของดิน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเกิดไฟป่าที่เป็นผลมาจากการทำไร่เลื่อนลอย โดยมีการจุดไฟเผาป่าเพื่อการเพาะปลูก รวมทั้งความแห้งแล้งเนื่องจากสภาพป่าเสื่อมโทรม ราษฎรมีความยากจน สภาพที่อยู่อาศัย อาหารและแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ไม่ถูกสุขอนามัย ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างไกลและทุรกันดาร
เพิ่มเติม
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
1. ชื่อโครงการ บ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านซิแบร
2. สถานที่ดำเนินการ บ้านซิแบร หมู่ที่ 7 ต. แม่ตื่น อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่
3. ประเภทโครงการ ( ) การเกษตร ( ) สิ่งแวดล้อม ( ) พัฒนาแหล่งน้ำ
( ) ส่งเสริมอาชีพ ( ) สาธารณสุข ( ) การคมนาคม
( / ) พระราชดำริ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อส่งเสริม ช่วยเหลือ และพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรกลุ่ม บ้านซิแบร , ปรอโพ , ห้วยขนุน
และ ห้วยยาบ
2. เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ
3. เพื่อป้องกันดูแลรักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ
เป้าหมายโครงการ
1. ราษฎรกลุ่มบ้านซิแบร , ปรอโพ , ห้วยขนุน , และห้วยยาบ ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. ราษฎรทั้ง 4 หมู่บ้าน ลดการถางป่าทำไร่หมุนเวียน
3. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู
งบประมาณ
1. งบ ปกติ จำนวน 1,868,600 บาท
2. งบ กปร. จำนวน - บาท
3. งบ อื่นๆ (ระบุ) จำนวน - บาท
ระยะเวลาการดำเนินการ
-
แผนการดำเนินงาน
1. แผนงานอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ
- โครงการป้องกันรักษาป่า
- โครงการการป้องกันไฟป่า
- โครงการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ
- โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่า
- โครงการปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. แผนพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
- โครงการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
- โครงการส่งเสริมสาธารณสุขและคุมกำเนิด
- โครงการปรับปรุงเส้นทางคมนาคม
- โครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรแบบพอเพียง
- โครงการธนาคารข้าว
- โครงการส่งเสริมศาสนา
- โครงการส่งเสริมการศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้รับการช่วยเหลือและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. สภาพป่าต้นน้ำมีความสมบูรณ์มากขึ้น
3. การทำไร่หมุนเวียนของราษฎรลดลง
4. ราษฎรประกอบอาชีพแบบเกษตรพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
5. ราษฎรตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ผลการดำเนินงาน
ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ
ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ปัญหาอุปสรรค
1. หน่วยงานร่วมขาดแผนงานการส่งเสริม และช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
2. รูปแบบโครงสร้างการบริหาร- ประสานงานโครงการไม่ชัดเจน
3. วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชนเผ่า (การเพิ่มประชากร , การประกอบอาชีพ ฯลฯ)
4. เส้นทางคมนาคม
5. ไฟป่าและสัตว์เลี้ยง
แนวทางการแก้ไข
1. กำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหาร-ประสานโครงการให้ชัดเจนให้ทุกหน่วยงานร่วม
ทราบและปฏิบัติ
2. ประชุมส่วนราชการร่วมโครงการฯ เพื่อประสานงานการส่งเสริมละช่วยเหลือราษฎรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจกับราษฎรในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และการประกอบ อาชีพการเกษตรพอเพียง
4. ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับราษฎรอย่างต่อเนื่อง
5. Zoning และจัดพื้นที่ทำกิน พร้อมกับให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
6. พัฒนาเส้นทางการคมนาคม
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงานโครงการ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายสุวิจิตร โกเฮง เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7
โทร. 081-9520169
หน่วยงานร่วมโครงการ
1. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
2. มณฑลทหารบกที่ 33
3. สำนักงานชลประทานจังหวัดเชียงใหม่
4. สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่
5. สำนักงานประมงน้ำจืด จังหวัดเชียงใหม่
6. สำนักงานที่ว่าการอำเภออมก๋อย
7. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น
8. กรมการวิชาการเกษตร
9. กรมการศึกษานอกโรงเรียน
10. สำนักงานประถมการศึกษา
11. กรมการส่งเสริมการเกษตร
12. กรมการข้าว
13. ศูนย์หม่อนไหม จังหวัดเชียงใหม่
14. กรมพัฒนาที่ดิน