ปัญหาและอุปสรรค
1. เส้นทางคมนาคม
2. ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขึ้นราคา
3. ค่าซ่อมบำรุงยานพาหนะ
แนวทางในการแก้ไขปัญหาของสถานีฯ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
1.ปัญหาด้านการทำงานการเกษตรที่ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำให้ผลผลิตไม่พอกิน เนื่องมาจากมีการพังทลายของหน้าดิน ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพผลกระทบที่ตามมา ทำให้ชุมชนมีการบุกรุกแผ้วถาง พื้นที่ป่าต้นน้ำเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
แนวทางในการแก้ปัญหา ใช้สถานีฯ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีการพัฒนาโดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรทั้ง 3 หมู่บ้าน เข้ามาปฏิบัติงานด้านการผลิตพืช ผัก ในโครงการฯ ซึ่งถือว่าได้รับองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเขตกรรม(แปลงขั้นบันได) การเพาะกล้า การปลูก ปฏิบัติ ดูแล รักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต การดำเนินกิจกรรม ดังกล่าว ส่งผลให้เกษตรกรเข้าใจถึงกระบวนการผลิต ที่ถูกต้อง และเหมาะสม ก่อให้เกิดความมั่นใจด้านการผลิตสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ทำกินของตนเอง ซึ่งเป็นการขยายผลสู่การผลิตเพื่อใช้สำหรับบริโภคภายในครอบครัว ทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และที่สำคัญยิ่งคือ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากพืช ผัก ที่บริโภคเป็นพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ในปี 2548 สามารถขยายผลสู่เกษตรกรทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้ 35 ครอบครัว
2. ด้านการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และไฟป่าเกิดจากการ ขยายพื้นที่เพื่อทำไร่ ของชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน โดยการใช้ไฟเผา เพื่อเตรียมพื้นที่แต่ไม่มีการควบคุมจึงทำให้พื้นที่เกิดความเสียหายซึ่งเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติเป็นประจำทุกปี
แนวทางในแก้ไขปัญหา จัดระเบียบชุมชนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน สร้างความมั่นคงในวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยให้สิทธิทำกิน และที่อยู่อาศัยเป็นรายครอบครัว สามารถตกทอดถึงลูกหลาน พัฒนาอาชีพให้เกิดรายได้ ดำเนินการปลูกฝังจิตสำนึก ให้ราษฎรรักษาป่าฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า และไฟป่า ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกับชุมชนในการวางแผนฟื้นฟูสภาพป่า การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ทำให้ได้ป่าต้นน้ำคืน จำนวน 1,800 ไร่ สามารถเป็นที่หลบภัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง , หมูป่า นกชนิดต่าง ๆ และจากการสร้างฝายต้นน้ำลำธารยังช่วยดักตะกอนไม่ให้ไหลลงสู่น้ำแม่โก๋น ซึ่งเป็นต้นน้ำของเขื่อนแม่งัด และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ป่า ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น เต่า , จิ้งจกน้ำ
3. ปัญหาด้านแรงงานย้ายถิ่นเพื่อรับจ้าง เนื่องจากการทำเกษตรไม่พอกิน ต่อการดำรงชีพ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และอนามัย เช่น ปัญหาสังคม ขาดความอบอุ่นภายในครอบครัว โดยทิ้งเด็ก และคนชราไว้ในหมู่บ้าน
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยทางสถานีฯ จัดระเบียบชุมชน ทั้ง 3 หมู่บ้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในด้านของเรื่องการศึกษา สาธารณสุข เรื่องพื้นที่ทำกิน การพัฒนาอาชีพ ในขั้นต้นอาศัยรับจ้างเป็นแรงงานในสถานีฯและทำงานใน หน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม นอกจากนั้นประสานงานกับฝ่ายปกครอง ให้ชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน ได้สิทธิทางสังคมโดยมีบัตรประจำตัวประชาชนไปแล้วถึง 88 %