โครงการสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 6  กุมภาพันธ์  2543  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมราษฎรบ้านแปกแซม ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และทอดพระเนตรสวนมันอะลู   ทรงพบว่าทั้ง 2 จุด เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ได้แก่ ห้วยหกหลวง ห้วยนายาว และห้วยนาอ่อน ป่าไม้ถูกบุกรุกทำลายใช้เป็นที่ทำกิน ปลูกมันฝรั่งและสวนลินจี่ และมีแนวโน้มว่าจะถูกแผ้วถางไปเรื่อย ๆ ตามจำนวนประชากรของหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ บ้านแปกแซม บ้านหินแตว บ้านหลักแต่ง และบ้านเปียงหลวง นอกจากนี้หมู่บ้านดังกล่าว ยังเป็นพื้นที่ชายแดนล่อแหลมต่อปัญหายาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้มีพระราชเสาวนีย์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการช่วยเหลือและแก้ไข โดยสรุปประเด็นสำคัญของพระราชเสาวนีย์ คือ
1) ให้พัฒนาด้านการเกษตร โดยจัดตั้ง สถานีสาธิตและถ่ายทอด การเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ตามพระราชดำริ เพื่อสาธิต ถ่ายทอดให้ความรู้ และส่งเสริมการปลูกพืชที่เหมาะสมและถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริมด้านการปศุสัตว์แล้วขยายผลการดำเนินงานจากสถานี ฯ เข้าไปพัฒนาหมู่บ้านและความเป็นอยู่ของราษฎรในบริเวณใกล้เคียงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
2) ให้พัฒนาแหล่งน้ำ อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า เพื่อให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเกษตร รวมทั้งอุปโภคบริโภคของราษฎรในพื้นที่อย่างเพียงพอ

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

1.  ชื่อโครงการ  :  สถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร  ป่าไม้  สิ่งแวดล้อม  ตามพระราชดำริ  บ้านแปกแซม ตำบลเปียงหลวง  อำเภอเวียงแหง  จังหวัดเชียงใหม่
2.  สถานที่ดำเนินการ  :  บ้านแปกแซม  หมู่ที่ 6  ตำบลเปียงหลวง  อำเภอเวียงแหง  จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1  เพื่อส่งเสริมอาชีพและเพิ่มศักยภาพ   ด้านการเกษตรกรรม การปศุสัตว์ ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของราษฎรในพื้นที่เป้าหมาย
2  เพื่อจัดหาและปรับปรุงแหล่งน้ำไว้ใช้ในการบริโภคอุปโภค และการเกษตรกรรมในพื้นที่                           
3  เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำสร้างความชุ่มชื้นครอบคลุมพื้นที่
4  เพื่อจัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน บนความพอเพียงตามวิถีชีวิตของชนเผ่า รวมถึงสร้างจิตสำนึกความเป็นคนไทย

เป้าหมายโครงการ

1  จัดตั้งสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ตามพระราชดำริ
2  ขยายผลจากสถานี ฯ ให้ราษฎรสามารถนำไปผลิตและดำรงชีพได้อย่างพออยู่พอกิน
3  รักษาสภาพป่าต้นน้ำ และพื้นที่ป่าให้อุดมสมบูรณ์เข้าสู่ระบบนิเวศน์วิทยา

แผนงานโครงการ/แนวทางดำเนินการ

1 พื้นที่การดำเนินงา น 19,415ไร่ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
    1.1 พื้นที่สถานีสาธิต ฯ 1,040 ไร่ (5%)
    1.2 พื้นที่อยู่อาศัยและทำกิน 6,375 ไร่ ( 33%)
    1.3 พื้นที่ป่าเพื่อใช้สอย 4,000 ไร่ (21%)
    1.4 พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 8,000 ไร่ (41%)
2 พื้นที่จัดตั้ง สถานี ฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
    2.1 พื้นที่ปศุสัตว์
    2.2 พื้นที่การเกษตรกรรม
    2.3 พื้นที่ป่าไม้
3 จัดระเบียบชุมชนในพื้นที่โครงการ ฯ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมการขยายตัวชุมชนอันจะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต
4 การปฏิบัติงานในสถานี ฯ จัดจ้างแรงงานจากราษฎรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถนำไปปฏิบัติเองได้
5 การขยายผลจากสถานี ฯ เข้าไปพัฒนาหมู่บ้าน จะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยดำเนินการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้าน และขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม

งบประมาณ

-

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1  ราษฎร มีรายได้จากการเข้ามารับจ้างเป็นแรงงานในสถานี
2  ราษฎรได้รับการเรียนรู้การฝึกฝน และสามารถนำไปขยายผลในการดำรงชีพของตนเองและครอบครัว
3  สามารถลดปัญหายาเสพติดในพื้นที่ได้ในอีกระดับหนึ่ง
4  ราษฎรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง
5  สามารถอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำทำให้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับป่า

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน 

ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน

-

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน

กองพลพัฒนาที่ 3
พันโท ธีรยุทธ ลิ่มอรุณ หัวหน้าฝ่ายแผนและโครงการ กองอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หน่วยงานร่วมโครงการ

1  กองทัพภาคที่3  โดย   กองพลพัฒนาที่ 3
2  กรมการปกครอง โดย  อำเภอเวียงแหง
3  กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  โดย  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
4  กรมวิชาการเกษตร   โดย  สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
5  กรมส่งเสริมการเกษตร  โดย  ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
6  กรมปศุสัตว์   โดย   สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่                
7  กรมประมง   โดย   ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่              
8  กรมพัฒนาที่ดิน   โดย   สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่        
9  กรมชลประทาน   โดย   โครงการชลประทานเชียงใหม่          
10 กรมการศึกษานอกโรงเรียนโดย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย บริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย
11 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
12  สำนักงานพัฒนาภาค  3   หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา  โดย  หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32
13  กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  โดย   สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์
14  หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่  7