ความเป็นมา/พระราชดำริ
วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ บ้านลีซอเสาแดง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณดอยขุนห้วยยา เนื่องจากทรงทราบว่า พื้นที่ป่าแถบนั้นในอดีตได้ถูกแผ้วถางไปจำนวนหนึ่ง โดยราษฎรบ้านลีซอเสาแดง เพื่อใช้พื้นที่ปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย แต่เมื่อทางราชการได้ทำการปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มงวด ราษฎรบ้านลีซอเสาแดงจึงเลิกปลูกฝิ่น และทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการทำการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะการปลูกพืชแบบไร่เลื่อนลอยหรือไร่หมุนเวียน และผลผลิตที่ได้ต่ำไม่เพียงพอต่อการบริโภคในชุมชน ทำให้เมื่อสิ้นฤดูกาลเพาะปลูกราษฎรบ้านเสาแดงโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว จึงละทิ้งถิ่นฐานไปหางานทำในตัวเมืองเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อหารายได้
นอกจากนั้นยังพบว่าบ้านลีซอเสาแดงยังขาดโอกาสทางการศึกษา และการบริการทางสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ดังนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงขึ้น โดยให้ราษฎรบ้านลีซอเสาแดง และราษฎรบ้านกะเหรี่ยงห้วยเขียดแห้งได้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการ
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านเสาแดง จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นและถือเอาวันที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมายังบ้านเสาแดง คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2547 เป็นวันเริ่มต้นการดำเนินงานของสถานีฯ
พระราชดำริเมื่อวันที่ 19 เดือน มกราคม พ.ศ. 2549
1. ให้สร้างโรงฝึกศิลปะชีพ จำนวน 2 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 โรงพร้อมกี่ทอผ้า (กี่กระตุก) โรงละ 20 กี่ และจะส่งครูมาฝึกสอนให้ราษฎรด้วย
2. ให้ส่งราษฎรเข้ารับการฝึกอบรมการทำเครื่องเงินและทอผ้า หมู่บ้านละ 4 คน ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
3. ทรงมีพระราชเสาวนีย์กับผู้ช่วยเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ให้จารึกไว้ให้คนรุ่นหลังทราบว่า การจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น พระราชประสงค์ประการหนึ่ง (ในหลาย ๆ ประการ) คือ การสร้างงานให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นทำให้คนรุ่นใหม่(หนุ่มสาว)มีงานทำ มีอาชีพให้เขาได้ทำไปก่อนเป็นการช่วยเหลือครอบครัวซึ่งทรงคิดว่า สถานีฯ มีงานให้เขาทำก็เท่ากับช่วยเขา และทรงตรัสว่า “เวลานี้ประเทศไทยน่ากลัวที่สุดคือการไม่มีอาชีพ ไม่มีงานทำ การที่เราทำอย่างนี้ (สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง) ได้ช่วยเขาก็เท่ากับว่ามีงานให้เขาทำ”
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
หมู่ 7 ต.แจ่มหลวง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2. ให้ราษฎรเรียนรู้การทำการเกษตรอย่างถูกวิธีในพื้นที่จำกัด แต่ให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เพื่อหยุดยั้งการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อขยายที่ทำกิน
3. อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต้นน้ำ ลำธารบริเวณดอยขุนห้วยยา และฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสมบูรณ์ดังเดิม
4. เพื่อสร้างชุมชนให้มีความมั่นคง ปลอดจากยาเสพติด
เป้าหมายโครงการ
ชุมชนบ้านเสาแดงและบ้านห้วยเขียดแห้ง ได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนมีการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
งบประมาณ
1. งบปกติ จำนวน 120,000 บาท
2. งบกปร. จำนวน 3,066,500 บาท
3. งบอื่น ๆ(ระบุ) จำนวน - บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ช่วยสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการว่างงานและความยากจนของราษฎร ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตลอดจนปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ ดิน และน้ำได้เป็นอย่างดี
ผลการดำเนินงาน
กิจกรรม |
หน่วยนับ |
ผล |
งบประมาณ |
ผลลัพธ์ |
1. งานอำนวยการและบริหารโครงการ
2. งานเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ให้แก่ชุมชน 2 หมู่บ้าน
3. ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง |
งาน
งาน
ไร่
|
1
1
100
|
958,505
50,000
340,000
|
พื้นที่สถานีฯได้รับการดูแลบำรุงรักษาด้านปัจจัยพื้นฐานต่างๆ อาทิ ระบบน้ำใช้ภายในสถานี การซ่อมแซมอาคารสิ่งปลูกสร้างฯลฯ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านการบริหารงานให้กับหน่วยงานร่วมปฏิบัติ ตลอดจนการประสานงานกับชุมชนเป้าหมาย ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของชุมชน และเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ สถานีฯได้ดำเนินการปลูกป่าเนื้อที่ 100 ไร่ บริเวณดอยขุนห้วยยา โดยใช้พันธุ์ไม้ที่ปลูกซึ่งให้ประโยชน์ตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กล่าวคือ ไม้สร้างบ้านเรือน ไม้ฟืน และไม้ใช้สอย โดยให้ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ อนุรักษ์ดินและน้ำ ชนิดพันธุ์ไม้ได้แก่ หว้า ทะโล้ เติม มะแฟน นางพญาเสือโคร่ง เสี้ยวดอกขาว สนสามใบ มะขามป้อม ฯลฯ |
กิจกรรม |
หน่วยนับ |
ผล |
งบประมาณ |
ผลลัพธ์ |
4. ปลูกป่าทั่วไป
5. ปลูกสร้างสวนป่าหวาย
6. ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ |
ไร่
ไร่
ไร่ |
200
100
500 |
500,000
350,000
330,000 |
สถานีฯ ได้ดำเนินการปลูกป่าเนื้อที่ 200 ไร่ ที่บริเวณดอยขุนห้วยยาเช่นกัน ซึ่งพื้นที่เดิมเป็นไร่เลื่อนลอยเก่า เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าหวายเนื้อที่ 100 ไร่ ที่บริเวณดอยขุนห้วยยาตามหุบเขาที่ติดกับลำห้วย ในอนาคตหลังจาก 3-5 ปี เมื่อกล้าไม้เจริญเติบโต ประโยชน์ที่จะได้รับคือ
|
กิจกรรม |
หน่วยนับ |
ผล |
งบประมาณ |
ผลลัพธ์ |
7. เพาะชำหญ้าแฝก
8. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน
9. ฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร
10. ปรับปรุงถนนป่าไม้ |
กล้า
แห่ง
แห่ง
กิโลเมตร |
50,000
50
2
10 |
82,500
250,000
50,000
155,000 |
ลดการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินมีการเกาะยึดตัวดีขึ้นซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัดที่สุดถ้าเทียบกับการก่อสร้างทางวิศวกรรม สามารถดักตะกอนดินและชะลอการไหลของน้ำ ทำให้เกิดความชุมชื้นกับพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ฝายและเมื่อมีความชื้นสะสมไว้มาก การเกิดไฟป่าในหน้าแล้งก็จะลดความรุนแรงลง หรือไม่เกิดเลยก็เป็นได้ สำหรับฝายขนาดกึ่งถาวร สามารถกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เช่นที่ บ้านห้วยเขียดแห้ง น้ำที่กักไว้จะทดเข้าพื้นที่นาดำของชาวบ้าน ส่วนฝายอีกแห่งหนึ่งที่บ้าน - ถนนลำลองซึ่งเสียหายมากในช่วงฤดูฝนได้รับการซ่อมแซมปรับปรุงให้สัญจรไปมาได้สะดวกขึ้น |
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
- การคมนาคม ค่อนข้างลำบากในช่วงฤดูฝน สภาพถนนจะเสียหายมากทำให้การเดินทางใช้ระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ยานพาหนะที่ใช้(รถยนต์และรถบรรทุก) ชำรุดสึกหรอและต้องซ่อมแซมบ่อยครั้ง
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายเจษฎา แก้วโชติ ตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ 7ว.
สังกัด ส่วนจัดการต้นน้ำ
หน่วยงานร่วมโครงการ
-