โครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ความเป็นมา

       สืบเนื่องจากที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้  (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปัจจุบัน) ได้จัดงานกล้วยไม้เอเซียแปซิฟิคครั้งที่ 4 (APOC 4) ระหว่างวันที่ 20 – 26 มกราคม พ.ศ.2535  ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2535  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเป็นองค์ประธานทรงเปิดงาน ในช่วงระหว่างทอดพระเนตรงานจัดนิทรรศการและการประกวดกล้วยไม้ ได้มีพระราชดำรัสกับ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (ขณะนั้น) ศาสตราจารย์ระพี  สาคริก  และ พล.ท.แป้ง   มาลากุล ณ อยุธยา (ยศขณะนั้น) ถึงกล้วยไม้ที่มีความสวยงามซึ่งนับวันจะสูญหายไป  ขอให้มีการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ไทยไว้  ผู้เกี่ยวข้องได้นำเรื่องปรึกษาหารือ เพื่อหาแนวทางสนองพระราชดำริดังกล่าว
       นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ได้รับพระราชดำริให้อนุรักษ์ และรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทยของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 และทรงเปิดอุทยานกล้วยไม้ไทยที่สถาบันฯ จัดทำขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 36 พรรษา และจากพระกระแสรับสั่งของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งมีแก่คณะผู้บริหารสถาบันฯ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ พระตำหนักดอยตุง ให้รวบรวมศึกษาขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทย และนำกลับคืนสู่ป่าที่ดอยตุงด้วย จากพระราชดำริของทั้ง 3 พระองค์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ จึงร่วมกับกองทัพบก กรมป่าไม้ องค์กรเอกชน จึงได้จัดทำ “โครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์” เพื่อสนองต่อเบื้องยุคลบาท ที่ได้ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์กล้วยไม้ไทยและนำคืนสู่ป่า
       จากความเป็นมาดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการเห็นควรให้ใช้ชื่อโครงการอย่างเป็นทางการว่า “โครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” น่าจะเป็นการเหมาะสมยิ่ง

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นผู้ดำเนินการ  โดยนำกล้วยไม้ไทยที่ขยายพันธุ์ได้นำกลับคืนสู่ป่าธรรมชาติทั่วภาคเหนือและทั่วประเทศในอนาคต

หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เป้าหมายโครงการ

เป้าหมายโครงการ

พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินการ

งบประมาณ

-   ปี งบประมาณ 2537               ได้รับจาก               กอ.รมน.                     จำนวน                            379,400.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2538               ได้รับจาก               กอ.รมน.                     จำนวน                         1,353,520.-   บาท
                                                                            กปร.                          จำนวน                         1,908,000.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2539               ได้รับจาก               กอ.รมน.                     จำนวน                         1,165,384.-   บาท
                                                                            กปร.                          จำนวน                         1,890,000.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2540               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                            185,000.-   บาท
                                                                            มหาวิทยาลัยแม่โจ้         จำนวน                            128,300.-   บาท
                                                                            กอ.รมน.                     จำนวน                         1,211,584.-   บาท
                                                                            กปร.                          จำนวน                         2,484,880.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2541               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         1,155,955.-   บาท
                                                                            กปร.                          จำนวน                         1,298,654.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2542               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         2,133,600.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2543               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         2,123,500.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2544               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         2,123,500.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2545               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         1,870,900.-   บาท
                                                                            รายได้คณะผลิตฯ          จำนวน                            116,981.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2546               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ           จำนวน                         1,870,900.-   บาท
                                                                            เงินอุดหนุน 2.5% งานวิจัย                                     25,702.50  บาท
                                                                            รายได้คณะผลิตฯ           จำนวน                           116,981.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2547               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ            จำนวน                        1,870,900.-   บาท
                                                                            รายได้จากการจัดกิจกรรม จำนวน                          270,000.-   บาท
-   ปี งบประมาณ 2548               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ            จำนวน                        2,133,700.-  บาท
                                                                            รายได้จากการจัดกิจกรรม จำนวน                          100,000.-   บาท  
-   ปี งบประมาณ 2549               ได้รับจาก               สำนักงบประมาณ            จำนวน                        1,119,360.-  บาท
                                                                            เงินบริจาคมูลนิธิกล้วยไม้ไทย จำนวน                      100,000.-  บาท                                                           รวมงบประมาณที่ได้รับ                          จำนวน                   31,190,596.50  บาท            

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. รวบรวมพันธุ์และขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทย ได้ประมาณ  1,000  ชนิด
  2. ขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทยได้จำนวนไม่น้อยกว่า  1,000,000  ต้น (หนึ่งล้านต้น)
  3. สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อธรรมชาติให้มวลชนทั่วไป
  4. ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา  ค้นคว้า  วิจัย  ในด้านกล้วยไม้ต่อไป
  5. เป็นแนวทางในการทำงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
  6. ขยายผลการดำเนินงานเพื่อขยายงานทั่วทุกภาคของประเทศ

ผลการดำเนินงาน

1 งานด้านขยายพันธุ์กล้วยไม้ไทย
-   งานเพาะฝักกล้วยไม้ไทย                                                                                                     649          ฝัก
-   งานย้ายโปรโตคอร์มกล้วยไม้ไทย                                                                                       2,474          ขวด       
-   งานย้ายต้นอ่อนกล้วยไม้ไทย                                                                                           37,223          ขวด
-   งานส่งมอบต้นอ่อนกล้วยไม้ไทยให้ฝ่ายอนุบาลต้นอ่อน                                                           15,170         ขวด
2   งานด้านการอนุบาลต้นอ่อน
-   งานดูแลกล้วยไม้ไทยเพื่อนำมาปรับสภาพ                                                                           14,653          ขวด/ถุง
-   งานนำกล้วยไม้ไทยออกจากขวด                                                                                     111,991         ต้น
-   งานปลูกกล้วยไม้เป็นต้นเดี่ยวโดยมัดกับแผ่นไม้                                                                    66,403         ต้น
-   งานอนุบาลหมู่กล้วยไม้ไทย                                                                                            111,991        ต้น
-   งานอนุบาลเดี่ยวกล้วยไม้ไทยโดยมัดติดกับแผ่นไม้                                                              163,617        ต้น
-   งานส่งมอบฝักกล้วยไม้ให้ฝ่ายขยายพันธุ์                                                                                  110        ฝัก
-   งานส่งมอบต้นอ่อนกล้วยไม้ให้ฝ่ายสำรวจฯและเพื่อการศึกษา                                                   64,664        ต้น
3   งานด้านสำรวจนิเวศวิทยา ติดตามประเมินผลและนำกล้วยไม้ไทยคืนสู่ป่า
-   การติดตามประเมินผล                                                                                                            15        แห่ง
-   การสำรวจสภาพนิเวศวิทยา                                                                                                      23        แห่ง
-   การนำกล้วยไม้ไทยคืนสู่ป่า                                                                           52   แห่ง        63,154        ต้น
-   งานส่งมอบฝักกล้วยไม้ให้ฝ่ายขยายพันธุ์                                                                                   467        ฝัก
งานด้านการวิจัย จำนวน 8 โครงการ

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

หน่วยงานหลัก

คณะผลิตกรรมการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานร่วมโครงการ

-