ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธุ์ 2540 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมราษฎรและนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนแปะ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และได้ทรงรับทราบข้อมูล บ้านขุนแตะ จากราษฎรที่เข้าเฝ้าฯ จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดตั้งฟาร์มตัวอย่างที่บ้านขุนแตะ หมู่ 5 ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ดำเนินงานในลักษณะเป็นศูนย์สาธิตและส่งเสริมด้านการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ได้แก่ ไก่, เป็ด, นกกระทา, ปลา, กบ, ผึ้ง, แกะ ตลอดจนให้มีการเพาะเห็ด และปลูกไม้ใช้สอย (ไม้ยูคาลิปตัส, สะเดา) โดยจ้างแรงงานจากราษฎรที่มีฐานะยากจนภายในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง มีการสร้างธนาคารข้าวพระราชทาน โดยทรงมอบให้กองทัพบก และกองทัพภาคที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งและควบคุมดูแลฟาร์มตัวอย่างดังกล่าว
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
บ้านขุนแตะหมู่ที่ 5 ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พิกัด MA 477335 ระวาง 4745 IV ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร เพิ่มเติม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. ส่งเสริมราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ให้มีรายได้เสริมจากการดำเนินการฟาร์ม
2. เป็นแหล่งอาหารให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ
3. เป็นแหล่งข้อมูลในการถ่ายทอดกรรมวิธีของกิจกรรมที่ดำเนินการในฟาร์ม ที่ได้ผล
ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ เพื่อดำเนินการเอง
4. ข้อมูลของกรรมวิธีดำเนินการที่ได้ผลโดยเน้นให้ราษฎรสามารถดำเนินการเองได้
โดยให้ใช้วัสดุและอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มากที่สุด
5. ขยายพื้นที่ป่าไม้ในบริเวณโครงการฯ
เป้าหมายโครงการ
ราษฎรในหมู่บ้านขุนแตะ หมู่ที่ 5 ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และขยายผลไปสู่ราษฎรหมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ บ้านหินเหล็กไฟ บ้านห้วยมะนาว หมู่ที่ 4, บ้านห้วยส้มป่อย และ บ้านขนุน 1, 2, 3 หมู่ที่ 8 รวม 5 หมู่บ้าน
งบประมาณ
ขอรับงบประมาณสนับสนุนดำเนินการจาก คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ในปีแรก และจากส่วนราชการปกติในปีต่อไป
แนวทางการดำเนินงาน
กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้งกองอำนวยการโครงการฯ จัดกำลังพลปฏิบัติงาน อำนวยการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังนี้
1. ขั้นการจัดตั้ง ได้แก่ การดำเนินการสำรวจ วางแผน จัดชุดประสานงานและควบ
คุมพื้นที่ การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับราษฎรในการเตรียมความ
พร้อมด้านต่างๆ และการก่อสร้างโรงเรือน (ชั่วคราว) ตามความจำเป็น ใช้ระยะ
เวลาประมาณ 3-5 เดือน
2. ขั้นการส่งเสริม ได้แก่ การจัดทำโครงการ/กิจกรรมนำร่อง อาจจะเป็นการทดลอง
และส่งเสริมไปพร้อมๆกัน เน้นการให้ความรู้แก่ราษฎรผู้ที่จะเป็นเจ้าหน้าที่โครง
การในอนาคต ให้มีความรู้ความสามารถที่จะดำเนินงานต่อไปได้ ตลอดจนการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ระยะเวลาในการส่งเสริมประมาณ 3 ปี
3. ขั้นดำเนินการเอง ได้แก่การบริหารจัดการระบบในโครงการ ให้สามารถดำเนิน
งานและขยายผลไปยังหมู่บ้านบริวารอื่นๆ มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถ
ประเมินผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ด้วย
องค์กรในพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในพื้นที่
ต่อไป ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 2 ปี
การดำเนินงาน
การดำเนินงานฟาร์มตัวอย่างบ้านขุนแตะ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
-ขั้นการจัดตั้ง
-ขั้นการส่งเสริม
-ขั้นดำเนินการเอง เพิ่มเติม
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
ฝ่ายโครงการพิเศษ โทรศัพท์/โทรสาร 053-281328,053-281390
หน่วยงานร่วมโครงการ
1. สำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการพัฒนา โดย หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32
2. กรมปศุสัตว์ โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
3. กรมประมง โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
4. กรมวิชาการเกษตร โดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่,
สถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่
5. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยโครงการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สวนป่าสิริกิติ์
6. กรมชลประทาน โดย โครงการชลประทานเชียงใหม่
7. อำเภอจอมทอง โดย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ