โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และสถานีบ้านแหวน

พระราชดำริของ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สรุปพระราชดำริ

เพื่อพัฒนาบุคลากรอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์ ถึงมหาชนชาวไทย

สรุปลักษณะของโครงการ

กำหนดพื้นที่ศึกษา โดยในช่วงปี พ.ศ. 2549-2554 ได้มีการกำหนดพื้นที่ศึกษาเพื่อใช้ในการศึกษาการเรียนรู้ทรัพยากร ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการปกปักพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช และปลูกรักษาพันธุกรรมพืช สามารถนำมาขยายผล โดยนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต นอกจากนั้นแล้ว ยังมีภารกิจในการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และการนำพันธุกรรมพืชไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1 ให้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช
2 ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย
3 ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อกันถึงทั่วประเทศ

แผนการดำเนินงาน

กรอบแนวทางการดำเนินงานในระยะ 5 ปีที่ 4 (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554)
เพื่อให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสอดรับการนโยบายหลักของโครงการ อพ.สธ. คณะกรรมการโครงการ อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการทบทวนแผนแม่บทเพื่อปรับปรุงกรอบแนวทางการดำเนินงานในระยะ 5 ปีที่ 4 (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554) ดังนี้
1 กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดพื้นที่เพื่อใช้ในการศึกษาการเรียนรู้ทรัพยากร ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการปกปักพันธุกรรมพืชที่มีอยู่ สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช และปลูกรักษาพันธุกรรมพืช
2 กรอบการใช้ประโยชน์
ผลที่ได้จากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช สามารถนำมาขยายผล โดยนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช และการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
3 กรอบการสร้างจิตสำนึก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษา มีภารกิจในการส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่อนุรักษ์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และการนำพันธุกรรมพืชไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ได้รวบรวมและเก็บรักษาพันธุ์พืช ทั้งที่มีอยู่และใกล้สูญพันธุ์ โดยทำการรวบรวมพันธุกรรมพืช สร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หริภุญไชย
2 มีศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ และสร้างนวัตกรรม ด้านการแพทย์ การเกษตร และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
3 ได้ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

ปีงบประมาณที่เริ่มดำเนินการ/ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพื้นเมืองต่างๆ เช่น สกุลขมิ้น กล้วยไม้ ไม้ดอกหอม ไม้ดอกสีม่วง และพืชพื้นบ้าน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2549 จึงได้มีการจัดทำแผนแม่บทในการดำเนินงาน ให้สอดรับกับแผนงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ระยะ5 ปีที่ 4 (ตุลาคม 2549 – กันยายน 2554)

งบประมาณที่ได้รับในปีเริ่มต้นและแหล่งที่มาของงบประมาณในปีเริ่มต้น

ในปีเริ่มต้นได้ดำเนินการโดยใช้งบปกติของหน่วยงานย่อยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น คณะเกษตรศาสตร์ เป็นต้น จนกระทั่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ตุลาคม 2551 - กันยายน 2552) มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณแผ่นดิน โดยการเสนอขอรับงบประมาณผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
1  ชุดโครงการวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชพื้นถิ่นที่พบ ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน” จำนวน 1,400,000 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนบาทถ้วน)
2  โครงการวิจัยเรื่อง “การสำรวจพรรณพืชท้องถิ่นพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ปัจจัยทางนิเวศวิทยาและการจัดทำฐานข้อมูลพืชพรรณ ณ ศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่หริภุญไชย จังหวัดลำพูน เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี” จำนวน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)

งบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี แยกเป็นรายปี ตั้งแต่ปีเริ่มต้นจนถึงปีปัจจุบันและแหล่งที่มาของงบประมาณ

ได้รับงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2552 จำนวนรวม 1,900,000 บาท
เสนอของบประมาณแผ่นดินประจำปี 2553 จำนวน 4,000,000 บาท 

ผลการดำเนินงาน

มีงานวิจัยที่เป็นรูปธรรม อย่างน้อย                                  2              โครงการ
มีการนำเสนอผลงานของโครงการ อพ.สธ.-มช                  5              ครั้ง
มีผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวลัวะและชาวถิ่นบนดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นต้น

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศูนย์บริหารงานวิจัย สำนักงานมหาวิทยาลัย
ผู้ประสานงาน: นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ โทร 053 94 2677
โทรสาร 053 94 3600

หน่วยงานร่วมโครงการ

อาทิ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น