โครงการกลุ่มเยาวชนเลี้ยงสัตว์ โดยกองทุนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  ตำบลแม่สอย   อำเภอจอมทอง   จังหวัดเชียงใหม่

ความเป็นมา

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรบ้านห้วยสะแพท หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2542 นั้น นายวีรศักดิ์ สุขคำ ประธานเยาวชนตำบลแม่สอย  ได้ขอพระราชทานความช่วยเหลือ ขอโครงการเลี้ยงไก่ให้แก่สมาชิกเยาวชน ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวในชนบทคนเหล่านี้ ยังขาดโอกาสไม่มีงานทำและรายได้ที่แน่นอน ส่วนมากจะว่างงาน หรือช่วยงานผู้ปกครองทำในไร่ นา สวน ในบาง ฤดูกาล  และเยาวชนเหล่านี้มีความคิดที่จะสร้างงานทำเพื่อให้มีรายได้ ไม่เป็นภาระกับผู้ปกครองหรือสังคม จึงได้ปรึกษาหารือกันและมีความเห็นว่าจะ เลี้ยงไก่ทั้งไก่พันธุ์ไข่ และไก่ลูกผสม    เพื่อเป็นการศึกษาหา ความรู้ในกลุ่มเยาวชน และเป็นแนวทางนำไปประกอบอาชีพส่วนตัวหรือในครอบครัวต่อไป สมเด็จพระนาเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ ความช่วยเหลือแก่กลุ่มสมาชิกเยาวชนตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยพระราชทานโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่และไก่ลูกผสม พร้อมทั้งพระราชทานเงินกองทุนโครงการจำนวนหนึ่ง เพื่อใช้ในการดำเนินงานบนพื้นที่ป่าชุมชนขนาด 30 ไร่ ณ บ้านวังน้ำหยาด หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่   เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้กำลังใจแก่กลุ่มเยาวชนดังกล่าว   ให้ได้มีความรู้ ในการประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้และช่วยลดปัญหาสังคม ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
      ในปี  2548   ได้เกิดโรคไข้หวัดนกขึ้นในพื้นที่หมู่บ้านวังน้ำหยาดบริเวณ ใกล้เคียงกับที่ตั้งของโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมแก้ไข้ ปัญหาโรคไข้หวัดนกของจังหวัดเชียงใหม่  จึงจำเป็นต้องทำลายสัตว์ปีก ทุกชนิดที่อยู่ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของเยาวชน  พร้อมระงับการเลี้ยงสัตว์ปีก
ลงจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสและรายได้ให้แก่กลุ่มเยาวชนเป็นอย่างมาก       ปัจจุบันศูนย์พัฒนาการศึกษาอันเนื่องมาจากพระราชดำริห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กรมชลประทาน กรมประมง ให้ การสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุก ปลาไน การเลี้ยงกบบลูฟอร์ค กบนา การเพาะเห็ดนางฟ้า กลุ่มเยาวชนยังมีความประสงค์ในการ เลี้ยงกิจกรรมทางด้านปศุสัตว์อยู่ต่อไป ซึงหากสัตว์ปีกไม่สามารถดำเนินการ ได้ทางกลุ่มก็มีความประสงค์ในการ เป็นแหล่งพันธุ์สุกรลูกผสมเหมยซาน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านห้วยสะแพท หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับไข่โอเมก้า 3

- ไข่โอเมก้า - 3
          ไข่สุขภาพหรือไข่โอเมก้า - 3 เป็นไข่ที่มีความพิเศษกว่าไข่ธรรมดาทั่ว ๆ ไปในแง่ของคุณค่าทางอาหารหลายประการ วัตถุประสงค์เพื่อต้องการจะเพิ่ม คุณค่าให้แก่ไข่ไก่ ซึ่งจากเดิมมีครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ระดับหนึ่งแล้วให้มีมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ดี  และมีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มมากกว่าที่เคยได้รับอยู่ตามปกติ  โดยนอกเหนือจาก คุณค่าทางอาหารที่มีตามปกติแล้วนั้น ไข่สุขภาพยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้ คือ
          1. มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตระกูลโอเมก้า - 3 เพิ่มขึ้น 210 มิลลิกรัม/ฟอง จากปกติที่ยังไม่มีอยู่เลย
          2. ปริมาณคอเลสเตอรอลลดลงจากเดิมประมาณ 215 มิลลิกรัม/ฟอง เป็น 188 มิลลิกรัม
          3. ไม่มียาปฏิชีวนะหรือสารตกค้าง
          4. มีการเก็บรักษาอย่างดี มีความสด
          5. ไม่ใช้สารเร่งสีไข่แดง
          โอเมก้า - 3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย กรดไขมันในตระกูลนี้มีอยู่หลายตัวด้วยกัน เริ่มต้นด้วยกรดไลโนเลนิก (linolenic acid)   ซึ่งพบในน้ำมันพืช และ อาหารบนบกหลายชนิด ส่วนอนุพันธ์ของกรดไลโนเลนิกที่สำคัญ คือ  กรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก  และ กรดโดโคชาเฮกซาอีโนอิก (Eicosapen-taenoic acid  หรือ  EPA และ  docosabexaenoic acid)  หรือ DHA   EPA หรือ DHA นี้พบว่ามีอยู่มากในอาหารประเภทปลา และสัตว์ทะเลโดยเฉพาะใน ทะเล น้ำเย็น จะพบว่ามีปริมาณมาก ปลา และสัตว์ทะเลได้รับกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้จากการกินแพลงตอนและสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร    ในปัจจุบันกรดไขมันโอเมก้า - 3 นี้ เป็นที่ ยอมรับกันทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาอาการของโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็งและตีบได้  เนื่องจากที่ผ่านมามีการค้นพบว่าชาวเอสกิโม ซึ่งมีอุปนิสัย ในการบริโภคไขมันจากปลาและสัตว์ทะเลเป็นประจำนั้น ไม่พบว่าเป็นโรคดังกล่าว ทั้งที่ไขมันที่บริโภคนั้น  มีผลให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก ไขมันเหล่านี้มี EPA และ DHA  พบว่าช่วยลดการจับเกาะกันของเกล็ดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัวอีกทั้งยังมีผลลดการสร้างไลโปโปรตีนชนิดที่ขนย้ายคอเลสเตอรรอล จากตับไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ และเพิ่มปริมาณไลโปโปรตีนชนิดที่ขนย้ายคอเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่ตับเพิ่มมากขึ้น   จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันอุดตันใน เส้นเลือดและโรคหลอดเลือดแดงแข็งและตีบได้ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า DHA นั้น เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบสมอง ระบบการมองเห็น และ ระบบ สืบพันธุ์ของ ทารกตั้งแต่อยู่ครรภ์มารดา โดยพบว่าทารกจะมีการสะสม DHA เพื่อการพัฒนาของระบบดังกล่าวสูงมากในช่วง 3 เดือนสุดท้ายในครรภ์มารดาไปจนถึงอายุ 2 ขวบ ถ้าขาดกรดไขมันดังกล่าว จะมีผลให้การพัฒนาของระบบดังกล่าวผิดปกติ การได้รับเข้าสู่ร่างกายนั้นกลับมีข้อจำกัดคือ   ต้องได้รับโดยตรงจากการบริโภคปลาหรืออาหารทะเล   ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะดวกต่อผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกลทะเล ผู้ที่ไม่ชอบทานปลา ผู้ที่แพ้อาหารทะเลหรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีความพร้อมในแง่ของรายได้จึงเป็นคำถามสำหรับผู้ผลิตต่อไป ว่า จะมีหนทางใดที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพดี มีคุณค่าต่อร่างกายและสุขภาพ โดยเน้นถึงความสะดวกในการบริโภคและมีราคาที่ยุติธรรม
          ไข่โอเมก้า - 3 ซึ่งเป็นผลผลิตจากความพยายามที่จะเพิ่มคุณค่าทางอาหารของไข่ไก่จากเดิมที่อุดมสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่แล้วให้มีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังพยายามลดปัญหา ของการหลีกเลี่ยงการบริโภคไข่แดง อันเนื่องจากปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง โดยการเพิ่มปริมาณกรดไขมัน EPA และ DHA เข้าไปในฟองไข่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับกรดไขมัน ดังกล่าวมากขึ้น นอกเหนือจากการได้รับจากอาหารทะเลโดยตรง และยังช่วยลดข้อจำกัด ของการบริโภคไข่ไก่ได้ด้วยคุณสมบัติที่ดีของโอเมก้า - 3 ที่กล่าวไปแล้ว
          มีรายงานการศึกษายืนยันว่า การให้คนปกติบริโภคไข่ที่มีโอเมก้า - 3 ประมาณ 10% ต่อฟองวันละ 4 ฟอง เป็นเวลานานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ นั้น ไม่มีผลให้ปริมาณ คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การบริโภคไข่ธรรมดาในลักษณะนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของ DHA ซึ่งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของระบบต่าง ๆ ที่สำคัญ ในวัยเด็ก

   การเลี้ยงไก่ไข่โอเมก้า – 3

          การเลี้ยงไก่ไข่โอเมก้า – 3 เป็นการเลี้ยงไก่ไข่โดยการใช้อาหารสำเร็จรูป ผสมกับน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า – 3       ซึ่งเป็นกลุ่มของกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย มีอนุพันธุ์ทางเคมีที่สำคัญ คือ DHA และ EPA เริ่มจากการนำไก่ไข่สาวอายุ 20 สัปดาห์มาเลี้ยง ความต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 16 % อัตราการกินอาหาร 110 – 120 กรัมต่อตัวต่อวัน ให้อาหาร 1 มื้อ เช้าและเย็นการเลี้ยงดูไก่ไข่ (อายุ 21 – 72 สัปดาห์)
          การเลี้ยงไก่ไข่ระยะนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นระยะที่ไก่ไห้ผลผลิต โดยทั่วไปแล้วถ้าการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ไก่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 20-21 สัปดาห์ ไก่จะเริ่มไข่ ่ประมาณ 5 % ของฝูง ควรจัดการ ดังนี้
          1. เมื่อไก่เริ่มไข่ได้ 5 % ของฝูง ควรเปลี่ยนอาหารจากไก่ไข่สาวเป็นไก่ไข่
          2. การให้อาหารต้องเพียงพอกับความต้องการของไก่ และการให้ผลผลิตของไก่
          3. ไก่ไข่จะให้ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ และจะสูงสุด ในช่วงอายุ 25 – 30 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ
          4. ในกรณีเลี้ยงแบบกรงตับต้องจดบันทึกการไข่ทุกวัน
               •  การเก็บไข่ ควรเก็บด้วยความระมัดระวัง ใส่ในแผงไข่ที่สะอาดคัดแยกขนาดไข่และไข่บุบร้าว
               •  ข้อพึงระวังกรณีที่ฝูงไก่กินอาหารลดลงผิดปกติ อาจเกิดจากความเครียดหรือเจ็บป่วย ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ควรปรึกษา
สัตวแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญทันที การเลี้ยงไก่ไข่ต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา
               •  การให้ผลผลิตของไก่ไข่ โดยทั่วไปจะให้ไข่ประมาณ 52 สัปดาห์ แต่ในเกษตรกรบางรายสามารถเลี้ยงไก่ไข่ได้นานถึง 60 สัปดาห์ ซึ่งอยู่
ที่การดูแล การจัดการที่ดี
               •  การปลดไก่ไข่ออก ส่วนใหญ่จะทำเพื่อให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน เช่น ให้ผลผลิตต่ำกว่า 60 % ของฝูง

วิธีสังเกตลักษณะของไก่ไข่หรือไม่ไข่อย่างง่าย ๆ


ลักษณะ

ไก่กำลังไข่

ไก่ไม่ไข่

หงอน
ตา
ขอบตา
ปาก
แข้ง
ขน
ก้น
กระดูกเชิงกราน

ใหญ่แดง โตเต็มที่ สดใส
กลมวาว สุกใส
บาง ขอบขาว
ซีดแกมขาว
ค่อนข้างขาวและแบน
ไม่เรียบ สกปรก
ขนาดใหญ่ ชุ่มชื้น
กว้าง 2 – 3 นิ้วมือ

เล็กซีด เป็นขุยสะเก็ด
เซื่องซึม
หนา เหลือง
เหลือง
เหลือง กลมเกลี้ยง
ขนเนียนตัว หรือหลุดร่วง
หดเล็ก กลมแห้ง
แคบกว่า 2 นิ้วมือ

โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่
           การจัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่เพื่อการค้านั้น จำเป็นจะต้องจัดสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบ มีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้เลี้ยงไก่ได้นานปีจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้เลี้ยง ไก่ไข่จะต้องสร้างโรงเรือนให้ถูกแบบมาตรฐาน ตามสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โรงเรือนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
          1. สามารถป้องกันแดด ลม และฝน ได้ดี
          2. ป้องกันศัตรูต่าง ๆ เช่น นก, หนู, แมว ได้
          3. รักษาความสะอาดได้ง่าย ลักษณะที่ดีโรงเรือนควรเป็นลวด ไม่รกรุงรัง น้ำไม่ขัง
               •  ควรห่างจากบ้านคนพอสมควร ไม่ควรอยู่ทางต้นลมของบ้าน เพราะกลิ่นขี้ไก่อาจจะไปรบกวนได้
               •  ควรเป็นแบบที่สร้างได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุก่อสร้างที่หาได้ในท้องถิ่น
               •  หากมีโรงเรือนไก่ไข่หลาย ๆ หลัง การจัดสร้างไม่ควรให้เป็นเรือนแฝด แต่ควรเว้นระยะห่างของแต่ละโรงเรือนไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทั้งนี้ เพื่อให้มีการระบายอากาศ และความชื้นดีขึ้น
รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่
          ลักษณะและการจัดสร้างโรงเรือนเพื่อใช้เลี้ยงไก่ไข่มีอยู่หลายรูปแบบ การจะสร้างแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์รูปแบบของการเลี้ยง ความยากง่าย ทุน และวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ที่นิยมสร้าง คือ แบบหน้าจั่วและแบบจั่วสองชั้น การป้องกันโรค
          ในการเลี้ยงไก่ไข่ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องเลี้ยงไก่ให้มีสุขภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง จึงจะให้ผลผลิตสูง ดังนั้น เราต้องรู้จักโรคไก่และการป้องกัน โดยถือหลักว่า “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” โดยการฉีดวัคซีน
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่ไข่โอเมก้า – 3
        
พันธุ์ไก่ไข่ จำนวน 87 ตัว
           อัตราการไข่ 78 ฟอง/วัน = 89.65%
           อัตราการกินอาหาร 9.5 กิโลกรัม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 95 บาท
           ไข่ไก่โอเมก้า – 3 ขายฟองละ 2.50 บาท x 78 = 195 บาท/วัน
           คงเหลือวันละ 100 บาท/วัน

ข้อมูลพื้นฐานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ของโครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงดอยม่อนล้าน  อำเภอพร้าว   จังหวัดเชียงใหม่

ปริมาณสัตว์โดยรวมทั้งตำบล


ตำบล

จำนวน
หมู่บ้าน

โคเนื้อ

กระบือ

สุกร

สัตว์ปีก

โคนม

เกษตรกร
เลี้ยงสัตว์

พื้นที่ถือ
ครอง

 

ป่าตุ้ม

11

813

60

1,528

19,461

20

961

974

 

ป่าไหน่

10

125

35

174

30,2o8

-

794

2,987

 

ปริมาณสัตว์แยกเป็นรายหมู่บ้าน

หมู่ที่   3    ตำบลป่าไหน่
- พื้นที่ถือครอง     430   ไร่    3  งาน เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    100    ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ  1,580  ตัว ปริมาณโคเนื้อ      18    ตัว   ปริมาณกระบือ      -      ตัว  ปริมาณสุกร     3    ตัว
หมู่ที่   3    ตำบลป่าตุ้ม
- พื้นที่ถือครอง       -      ไร่    -    งาน      เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    172    ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ  235      ตัว ปริมาณโคเนื้อ      30    ตัว   ปริมาณกระบือ    -    ตัว  ปริมาณสุกร    25    ตัว
หมู่ที่   11   ตำบลป่าตุ้ม
- พื้นที่ถือครอง     147   ไร่    1    งาน      เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    100    ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ  4,875    ตัว ปริมาณโคเนื้อ      -      ตัว   ปริมาณกระบือ    -    ตัว  ปริมาณสุกร 1,027    ตัว

ข้อมูลพื้นฐานด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านดงเย็น อำเภอจอมทอง
จังหวัดเชียงใหม่

ปริมาณสัตว์โดยรวมทั้งตำบล


ตำบล

จำนวน
หมู่บ้าน

โคเนื้อ

กระบือ

สุกร

สัตว์ปีก

โคนม

เกษตรกร
เลี้ยงสัตว์

พื้นที่ถือ
ครอง

 

บ้านแปะ

18

2,386

201

1,528

30,303

-

2,061

3,596

 

แม่สอย

14

565

2

685

23,866

1

1,848

8,326

 

ปริมาณสัตว์แยกเป็นรายหมู่บ้าน

หมู่ที่   6    ตำบลแม่สอย
- พื้นที่ถือครอง     1,136   ไร่    2    งาน   เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    167    ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ  1,322  ตัว ปริมาณโคเนื้อ    16    ตัว   ปริมาณกระบือ    -    ตัว  ปริมาณสุกร 162    ตัว
หมู่ที่   9    ตำบลแม่สอย
- พื้นที่ถือครอง     478   ไร่    3    งาน      เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    99      ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ   258    ตัว ปริมาณโคเนื้อ     -  ตัว    ปริมาณกระบือ      -      ตัว  ปริมาณสุกร  104    ตัว
หมู่ที่   11    ตำบลบ้านแปะ
- พื้นที่ถือครอง       -      ไร่    -    งาน      เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    34     ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ   577      ตัว ปริมาณโคเนื้อ      -    ตัว    ปริมาณกระบือ   -    ตัว  ปริมาณสุกร    9        ตัว
หมู่ที่   15   ตำบลบ้านแปะ
- พื้นที่ถือครอง     49     ไร่    1    งาน      เกษตรกรด้านการเลี้ยงสัตว์    52      ราย   ปริมาณไก่พื้นเมือง/ไก่เนื้อ  3,116    ตัว ปริมาณโคเนื้อ      -      ตัว ปริมาณกระบือ    -   ตัว  ปริมาณสุกร    1       ตัว