ความเป็นมา
ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินบริเวณห้วยลาน บ้านปง หมู่ที่ 8 และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2530 และวันที่ 5 มีนาคม 2530 ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ดำเนินการพัฒนาบริเวณพื้นที่ห้วยลาน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) พิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยลาน บริเวณบ้านปง หมู่ที่ 8 ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่ในเขตตำบลออนใต้ให้แล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำให้ทันในฤดูฝน และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีก 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำดอยโต และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าไร่ เพื่องส่งน้ำให้กับกิจกรรมพัฒนาด้านป่าไม้และด้านประมง
2. ให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งสถานีเพาะชำกล้าไม้ และดำเนินการปลูกป่าเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำห้วยลาน ซึ่งปัจจุบันราษฎรได้บุกรุกแผ้วถางยึดถือครอบครองปลูกอ้อย เพื่อพัฒนาให้เกิดความชุ่มชื้นบริเวณอ่างเก็บน้ำ เหมือนกับที่ได้ดำเนินการที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3. ให้กรมประมงพิจารณาดำเนินการจัดตั้งสถานีประมงขนาดเล็ก และแพร่พันธุ์ปลาในอ่างเก็บน้ำห้วยลาน เพื่อเป็นการขยายพันธุ์ปลาแจกจ่ายให้ราษฎรในบริเวณนี้ โดยพิจารณาจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงปลา เพื่อประโยชน์ในการบริหารการจับปลา และเลี้ยงปลาเป็นอาชีพด้วย
4. การดำเนินงานทั้งด้านป่าไม้และด้านประมง ขอให้นำผลการทดลองของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ มาดำเนินการเพื่อที่จะขยายผลการทดลองที่เห็นว่าเหมาะสมแล้วให้เป็นประโยชน์แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ออน หมู่ที่ 8 บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ
2 เพื่อรักษาระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณลุ่มน้ำห้วยลานให้มีสภาพที่สมบูรณ์
3 เพื่อนำผลการศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาดำเนินการเป็นแบบอย่าง
4 เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้
5 เพื่อเป็นการเผยแพร่การพัฒนาด้านป่าไม้ ตามแนวพระราชดำริ ไปสู่บุคคลโดยทั่วไป
เป้าหมายโครงการ
เพื่อพัฒนากลุ่มลุ่มน้ำห้วยลาน ให้มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสภาพป่าที่ดี และในลำห้วยมีน้ำไหลในปริมาณที่เพียงพอ น้ำมีคุณภาพที่ดี ไหลตลอดปี ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ดีขึ้น
งบประมาณ
งบปกติ จำนวน 3,090,490 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1 สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น
2 สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เป็นไปตามธรรมชาติ
3 ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ที่ดี สามารถดูแลครอบครัวได้ดี
ผลการดำเนินงาน
งานพัฒนาป่าไม้
1 การบำรุงรักษาสวนเดิม
- บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี (ปลูกปี 2541-2546) จำนวน 1850 ไร่
- บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 7-10 ปี (ปลูกปี 2536-2540) จำนวน 1850 ไร่
- บำรุงรักษาสวนป่าหวาย อายุ 2-6 ปี (ปลูกปี 2541-2546) จำนวน 400 ไร่
- แนวกันไฟ 36 กิโลเมตร
2 การปลูกป่าใหม่ เนื้อที่รวม 300 ไร่
- การปลูกป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 200 ไร่
- ปลูกหวายตามแนวพระราชดำริ จำนวน 100 ไร่
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน
สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
นายภูมินทร์ บุญบันดาล ตำแหน่ง เจ้าพนักงานป่าไม้ 5
หน่วยงานร่วมโครงการ
-