ความเป็นมา
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 โดยศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้ามาดำเนินการทดลองเพาะปลูกดอกแกลดิโอรัส และพืชพันธุ์ไม้อื่น ๆ ในเขตพื้นที่บ้านโรงวัว หมู่ที่ 5 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบว่า ราษฎรในพื้นที่โครงการมีความเป็นอยู่ที่ยากจน เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนมีไม่เพียงพอต่อความต้องการเพาะปลูก และสภาพดินในพื้นที่มีคุณภาพต่ำ จนกระทั่ง ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ ได้เสด็จมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีราษฎรเข้ามาร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำกิน ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ จึงได้นำปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรดังกล่าวกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพิ่มเติม
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
ท้องที่ ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เป้าหมายโครงการ
- ป้องกันดูแลรักษาป่ารอบพื้นที่โครงการฯ พื้นที่ 171,710 ไร่
- ดูแลรักษาพื้นที่ป่าไม้ที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นจำนวนเนื้อที่ 107,000 ไร่
- ฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้มีความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 15,000 ไร่
- ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ จำนวน 1,000 ไร่
-ราษฎรมีพื้นที่ทำกินในท้องถิ่นของตนเอง มีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรและอุปโภค บริโภคได้ตลอดปี
- ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดจิตสำนึกและหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดไป
แผนการดำเนินงาน
1 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 งบกลาง โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ แผนงานพัฒนาป่าไม้ จากสำนัก กปร. ดังนี้
1.1 งานป้องกันรักษาป่า พื้นที่ 171,710 ไร่
1.2 งานฟื้นฟูพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ(ปลูกปรับปรุงระบบนิเวศนต้นน้ำ) เนื้อที่ 110 ไร่
1.3 งานควบคุมไฟป่า (ทำแนวกันไฟ) 25 กม.
1.4 งานอำนวยการและบริหารโครงการ
2 ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 แผนงานพัฒนาการป่าไม้อัน
เนื่องมาจากพระราชดำริ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
2.1 บำรุงรักษาป่าไม้ใช้สอย(แปลงปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง) เนื้อที่ 200 ไร่
2.2 ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1 สามารถฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสภาพแวดล้อมในพื้นที่โครงการให้มีความอุดมสมบูรณ์
2 รักษาพื้นที่ป่าไม้ของโครงการฯ เนื้อที่ประมาณ 107,000 ไร่ ไว้ได้
3 ราษฎรมีที่ดินทำกินและมีแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร และอุปโภคบริโภคได้ตลอดปี
4 ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ได้มีงานทำในท้องถิ่นของตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5 นำผลการศึกษาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ มาขยายผลให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
งบประมาณ
1 งบปกติ จำนวน 170,000 บาท
2 งบ กปร. จำนวน 1,522,600 บาท
3 งบอื่นๆ ระบุ จำนวน - บาท
ผลการดำเนินงาน
ลำดับ
|
ชื่อโครงการ/ที่ตั้ง
|
งานที่หน่วยราชการร่วมปฏิบัติ |
ผลการดำเนินการ |
||||
รายการปฏิบัติ |
หน่วยนับ |
|
|||||
1
|
โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ จอมทอง อำเภอฮอด และอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
|
1
|
กิจกรรมบำรุงรักษาสวนเดิมอายุ 2-6 ปี (แปลงไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง)
|
200 ไร่
|
1.1
|
บ้านห้วยม่วงฝั่งซ้าย หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 50 ไร่ |
|
1.2
|
บ้านห้วยส้ม หมู่ที่ 13 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 50 ไร่ |
||||||
1.3
|
บ้านห้วยสะแพด หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 50 ไร่ |
||||||
1.4
|
บ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 50 ไร่ |
||||||
2
|
กิจกรรมทำแนวกันไฟ
|
3 กม.
|
2.1
|
ทำแนวกันไฟพื้นที่ปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ 300 ไร่ บ้านห้วยพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 3 กม. |
|||
3 |
ปลูกปรับปรุงระบบนิเวศ |
110 ไร่ |
3.1 |
ดำเนินการปลูกปรับปรุงระบบนิเวศ จำนวน 110 ไร่ |
|||
4
|
งานป้องกันรักษาป่า
|
171,710 ไร่
|
4.1
|
ตรวจพบการกระทำผิด 4 คดี ผู้ต้องหา 6 คน ไม้กระยาเลย 22 ท่อน ปริมาตร 1.62 ลบ.ม.,ไม้กระยาเลย แปรรูป 76 แผ่น ปริมาตร 0.822 ลบ.ม. ไม้ไผ่รวก 240 ลำ ตรวจยึดพื้นที่ 12 - 0 - 21 ไร่ |
|||
4.2 |
ตรวจสอบพื้นที่ทำกินและหลักหมุดแนวเขตรับผิดชอบ 51 แปลง |
||||||
4.3
|
ประชาสัมพันธ์ด้านป่าไม้และวัตถุประสงค์โครงการฯ ให้ผู้นำ หมู่บ้านและราษฎรรับทราบและเข้าใจ 217 ครั้ง |
||||||
4.4
|
ปฏิบัติงานมวลชนสัมพันธ์ ร่วม กิจกรรมปลูกป่ากับชุมชนในท้องถิ่น 5 ครั้ง |
||||||
5
|
อบรม ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ ป่า(รส.ทป.)
|
3 รุ่นๆ ละ 100 คน
|
5.1 |
ราษฎรบ้านเด่นสารภี ม.6 ต.บ้านตาล อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ |
|||
5.2 |
ราษฎรบ้านห้วยสะแพด ม.9 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.3 |
ราษฎรบ้านห้วยพัฒนา ม.13 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.4 |
ราษฎรบ้านห้วยม่วงฝั่งซ้าย ม.6 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.5
|
ราษฎรบ้านห้วยฝาง ม.8 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.6 |
ราษฎรบ้านมะควัด ม.12 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.7 |
ราษฎรบ้านโรงวัว ม.5 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.8 |
ราษฎรบ้านท่ากอม่วง ม.10 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.9 |
ราษฎรบ้านใหม่สารภี ม.4 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.10 |
ราษฎรบ้านดงเย็น ม.15 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.11 |
ราษฎรบ้านหนองบัว ม.18 ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.12 |
ราษฎรบ้านสบแจ่มฝั่งซ้าย ม.11 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
5.13 |
ราษฎรบ้านบวกห้า ม.18 ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ |
||||||
6 |
งานควบคุมไฟป่า |
|
6.1.1 |
ประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ 30 ครั้ง |
|||
6.1
|
ประชาสัมพันธ์ ป้องกันไฟป่า |
||||||
6.1.2 |
ป้ายประชาสัมพันธ์ 75 ครั้ง |
||||||
6.2
|
การศึกษาและ ฝึกอบรม |
6.2.1 |
ให้การศึกษา 17 ครั้ง |
||||
6.2.2 |
จัดกิจกรรมวันรณรงค์ให้ปลอดควันพิษจากไฟป่า 1 ครั้ง |
||||||
6.3
|
การปฏิบัติงานดับ ไฟป่า
|
6.3.1 |
สำรวจพื้นที่ปฏิบัติงาน 187,500 ไร่ |
||||
6.3.2
|
เตรียมพนักงานดับไฟป่า 37 คน อุปกรณ์และเครื่องมือ ดับไฟป่า จำนวน 3 ชุด |
||||||
6.3.3 |
จัดทำแนวกันไฟ 50 กิโลเมตร(แนวกันไฟรอบหมู่บ้าน 25 กม.) |
||||||
6.3.4 |
จัดการเชื้อเพลิง 6,300 ไร่ |
||||||
6.3.5 |
ตรวจป้องกันการลักลอบเผาป่า 187,500 ไร่ |
||||||
6.3.6 |
ปฏิบัติงานดับไฟป่า 72 ครั้ง เนื้อที่ 491 ไร่ |
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
- พื้นที่มีสภาพแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างน้อยไม่ตรงตามฤดูกาล
- สภาพดินเป็นดินร่วนเหนียว ร่วนเหนียวปนกรวด หรือเป็นดินลูกรัง มีการระบายน้ำได้ดีหรือดีเกินไป มีการชะล้างหน้าดินสูง เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูก
- มีการตัดไม้ใช้สอยในป่า (ไม้ไผ่) เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และทำการเกษตร
- ลำห้วยสาขาในพื้นที่ของโครงการฯ อยู่บนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง กระแสน้ำมีความรุนแรง ไหลกัดเซาะตะกอนดินลงมาทับถมอ่างเก็บน้ำและพื้นที่ทำกินของราษฎร
แนวทางแก้ไขปัญหา
- ปลูกฟื้นฟูสภาพป่าให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยนำชนิดพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูและปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่ กระถินยักษ์ ขี้เหล็กบ้าน และชนิดพันธุ์ไม้ถิ่นเดิมที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในท้องถิ่น ได้แก่ สะเดา ขะเจ๊าะ เป็นต้น เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อม ความชุ่มชื้น และป้องกันการชะล้างหน้าดิน
- ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชัน สองข้างลำห้วยรอบอ่างเก็บน้ำ หรือพื้นที่ไร่นา ที่ทำกินของราษฎรที่มีความลาดชัน เสี่ยงต่อการกัดชะหน้าดิน เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ป้องกันตะกอนดินไหลทับถมแหล่งน้ำ และพื้นที่ทำกินของราษฎร
- ส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ใช้สอยภายในชุมชน ครัวเรือน และหัวไร่ปลายนาที่ทำกินของราษฎร ได้แก่ ไผ่รวก ไผ่ซาง ไผ่บง กระถินยักษ์ สะเดา ยูคาลิปตัส กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น เพื่อใช้ประโยชน์ก่อสร้างโรงเรือน การทำการเกษตร และทำฟืนทำถ่านเป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน ป้องกันการลักลอบตัดไม้ในป่ามาใช้ประโยชน์
- จัดทำฝายต้นน้ำเพื่อชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ป้องกันดินตะกอนไหลลงมาทับอ่างเก็บน้ำ และพื้นที่ทำกินของราษฎร ตลอดจนรักษาความชุ่มชื้นในบริเวณพื้นป่าสองข้างลำห้วย ส่งเสริมให้กล้าไม้และลูกไม้ให้สามารถเจริญเติบโตได้ดี
หน่วยงานหลัก
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
หน่วยงานร่วมโครงการ
1 กองอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองพลพัฒนาที่ 3
2 สำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน
3 หน่วยจัดที่ดิน กรมที่ดิน
4 กรมพัฒนาที่ดิน