ความเป็นมา/พระราชดำริ/พระราชเสาวนีย์
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2545 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตรพื้นที่ป่าไม้ตำบลอมก๋อย อำเภอสบโขง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่าพื้นที่ป่าบริเวณดอยแบแล พิกัด MV 286614 ถูกบุกรุกแผ้วถาง เป็นบริเวณกว้าง เป็นจำนวนนับพันไร่ และมีแนวโน้มว่าจะมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าปล่อยไว้ เช่นนี้ แหล่งต้นน้ำบริเวณ ห้วยอมแฮด, ห้วยแม่หลอง, ห้วยแบแล, ห้วยแม่ตื่น, ห้วยพะอัน, ห้วยกองซาง และห้วยไคล้นุ่น จะประสบภาวะ แห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อยในอนาคต สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีวินิจฉัยแล้ว ให้จัดตั้งสถานีทดลองเกษตรในพื้นที่สูงขึ้น โดยนำพื้นที่ที่ถูกบุกรุกแผ้วถางแล้วมาจัดทำเป็นแปลงปลูกพืชเมืองหนาวและให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เข้ามามีส่วนร่วมในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ก็เพื่อหยุดยั้ง มิให้ราษฎรบุกรุกแผ้วถางป่าเพิ่มขึ้นอีกต่อไป
พระราชดำริ/พระราชเสาวนีย์
1. ให้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองการเกษตรบนพื้นที่สูง
2. ให้อนุรักษ์กล้วยไม้ในพื้นที่ และจัดระเบียบชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียง
3. ให้เป็นศูนย์การฝึกการดำรงชีพ เพื่อการอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
หมู่ที่ 5 ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
พิกัดที่ตั้ง QMV 287618 ระวางแผนที่ 4644 II ครอบคลุมเนื้อที่ 13,370 ไร่
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านสบอมแฮด อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดกับ บ้านกองซาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านยางใต้ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านพะอัน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2. เพื่อทดลองสาธิตปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจบนพื้นที่สูง ทั้งพืชผักไม้ดอก และไม้ผลเมืองหนาวให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งจ้างงานให้กับราษฎร ในหมู่บ้าน ใกล้เคียง ตลอดจนเป็นศูนย์ฝึกการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
3. เพื่อสกัดกั้นการบุกรุกแผ้วถางป่าบริเวณดอยแบแล โดยการ จัดระเบียบชุมชน ที่อยู่ใกล้เคียงตลอดจนปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ รวมทั้งอนุรักษ์กล้วยไม้ ในพื้นที่ให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์
เป้าหมายโครงการ
1. จัดระเบียบชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงตามแนวทางหมู่บ้านป่าไม้แผนใหม่ จำนวน 2 หมู่บ้าน เนื้อที่ 2,300 ไร่
2. จัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง และพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน จำนวน 500 ไร่
3. ปรับปรุงระบบนิเวศป่าต้นน้ำ และอนุรักษ์แหล่งกล้วยไม้ในเนื้อที่ 10,570 ไร่
ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลาในการดำเนินงาน ตั้งแต่ปี 2545-จนกว่าจะหมดความจำเป็น โดยได้กำหนดระยะเวลาเป็นช่วง ๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2545-2547
- ขั้นเตรียมการ และจัดตั้งสถานีเกษตรที่สูง จัดระเบียบชุมชน บ้านขุนอมแฮดนอก-ขุนอมแฮดใน
ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2548-2552
- สถานีเกษตรที่สูง ศูนย์การดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
สู่การปฏิบัติจริงในหมู่บ้านนำร่อง จำนวน 25 หมู่บ้าน
ระยะที่ 3 ปี 2552-จนกว่าจะหมดความจำเป็น
(เมื่อราษฎรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างถูกต้องและ
ยั่งยืน) ศูนย์ฝึกอบรม ขยายผลสู่การปฏิบัติจริงในทุกหมู่บ้านของ
อำเภออมก๋อย
งบประมาณ
1 งบปกติ จำนวน 2,198,600 บาท
2 งบ กปร. จำนวน 507,033 บาท
3 งบอื่น ๆ จำนวน - บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ราษฎร จำนวน 2 หมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
2. สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เป็นแหล่งจ้างงานให้กับราษฎร 2 หมู่บ้าน 153 ครัวเรือน
3. สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เป็นแหล่งสาธิตและฝึกอบรมการดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
4. ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ เนื้อที่ 6,778 ไร่ ได้รับการปรับปรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์สามารถเอื้อประโยชน์ต่อแหล่งต้นน้ำลำธาร
5. ราษฎร จำนวน 153 หมู่บ้าน ได้รับการฝึกและสามารถดำรงชีพอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
1. กิจกรรมการอำนวยการ
- ปรับปรุงดูแลพลับพลาที่ประทับ ซ่อมแซมถนน ปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่สถานีฯ
2. กิจกรรมพัฒนาการเกษตรที่สูง
- งานพัฒนา และวิชาการ
* งานทดสอบเทคโนโลยีการปลูกไม้ผลเมืองหนาว เช่น พีช พลับ บ๊วย เกาลัด
* งานทดสอบเทคโนโลยีการปลูกพืชสวนอุตสาหกรรม ได้แก่ ศุภโชค กาแฟ
* งานทดสอบ และพัฒนาพืชผัก ได้แก่ ผักปลอดสารพิษในโรงเรือน ผักกลางแจ้ง เป็นต้น
* งานทดสอบ และพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ ได้แก่ ลิลลี่ป่า หงษ์เหิน เป็นต้น
* งานผลิตพันธุ์ ได้แก่ ต้นกาแฟ จำนวน 25,000 กล้า
3. กิจกรรมอนุรักษ์ดิน และน้ำ
- ทำคันคูรับน้ำขอบเขาบ้านขุนอมแฮด จำนวน 200 ไร่
- สนับสนุนหญ้าแฝกปลูกในพื้นที่โครงการฯ
- พื้นที่ทำกินของราษฎร จำนวน 200,000 ต้น
- สาธิตการทำปุ๋ยพืชสดบ้านขุนอมแฮดใน
4. กิจกรรมด้านป่าไม้
- ปลูกป่าทั่วไป 100 ไร่
- ปลูกป่าไม้ใช้สอย 50 ไร่
- ปลูกป่าปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ จำนวน 300 ไร่
- ปลูกหวาย จำนวน 50 ไร่
- เพาะชำหญ้าแฝก 20,000 กล้า
- เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 20,000 กล้า
-เพาะชำกล้าหวาย 20,000 กล้า
- จัดทำฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวร 2 ตัว
- จัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 30 ตัว
5. กิจกรรมอบรมพัฒนาชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- เกษตรธรรมชาติ โดยจัดทำ หมูหลุม เลี้ยงปลา และกบ ทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น
6. กิจกรรมประสานคุ้มครองชุมชน
- แจกยาให้กับราษฎร
- ให้ความรู้แก่นักเรียนที่มาศึกษาดูงาน
- นำราษฎรพัฒนาหมู่บ้านในวันแม่แห่งชาติ
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ปริมาณน้ำฝนน้อย การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินต้องใช้เวลา มีผลต่อการเพาะปลูกของราษฎร และเลือกชนิดไม้ที่ปลูกฟื้นฟูในพื้นที่
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายทศพร ธนามี ตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ 7ว
โทรศัพท์ 05-3281-390
หน่วยงานร่วมโครงการ
-