โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ  บ้านนาเกียน

ความเป็นมา

เมื่อวันที่  14  กุมภาพันธ์  2548  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ  ได้มอบหมายได้ผู้แทนพระองค์  อัญเชิญแนวพระราชดำริไปมอบให้แก่คณะทำงาน  เพื่อจัดตั้งสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง  ตามพระราชดำริบ้านนาเกียน

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

บ้านนาเกียน  หมู่ที่  3  ต.นาเกียน  อ.อมก๋อย  จ.เชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.  เพื่อให้ความรู้แก่ราษฎร  ในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการโดยยึดหลัก  เศรษฐกิจพอเพียง
2.  เพื่อฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติ  ดิน  น้ำ  ป่าไม้
3.  สร้างงานให้ราษฎรมีอาชีพ  รายได้  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

เป้าหมายโครงการ                          

เพื่อฟื้นฟู่สภาพป่าที่ถูกทำลาย   ทำการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน , ทำการฝึกราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า  ทำการ , ทำการปลูกสร้างเสริมป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ , จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและทำการจ้างงานราษฎรเพื่อยกระดับรายได้

งบประมาณ

1  งบปกติ                                        จำนวน                      456,000              บาท
2  งบ  กปร.                                      จำนวน                   2,319,630              บาท
3  งบอื่น  ๆ  (ระบุ)                        จำนวน    ....................................    บาท

แผนการดำเนินงาน

1.  อนุรักษ์  ฟื้นฟู  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.  เพื่อความมั่นคง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีการฟื้นตัวสู่สภาพเดิม
2.  พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรได้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เดิม
3.  การทำการเกษตรอย่างถูกวิธีและหลักวิชาการ  ลดปัญหาการใช้สารเคมี
4.  ชุมชนเข้มแข็ง

ผลการดำเนินงาน

การดำเนินงานได้บรรจุผลตามเป้าหมายและแผนงานที่ได้รับดังนี้   งานอำนวยการและงานโครงการ  1  งาน ,  สร้างฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน  50 แห่ง  ,  ปลูกป่าทั่วไป  100  ไร่ ,  ปลูกป่าไม้ใช้สอย  100  ไร่ ,  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ  250  ไร่ ,  เพาะชำหญ้าแฝก  25,000  กล้า  จัดทำระบบกระจายน้ำ  1  ชุด ,  บำรุงรักษาสวนเดิม  อายุ  2 – 6 ปี   200 ไร่ ,  บำรุงป่าไม้ใช้สอย  200  ไร่  และทำแนวกันไฟ  30  กิโลเมตร

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

1.  เส้นทางคมนาคมมีความลำบาก  แนวทางแก้ไข  ประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นให้ช่วยแก้ไข
2.  พื้นฐานความรู้ของชุมชนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ  แนวทางแก้ไข  ประสานกับเขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ให้สนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาเข้าไปในพื้นที่ชุมชน

หน่วยงานหลัก

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่จ๊าง

หน่วยงานร่วมโครงการ

1.กองทัพภาคที่  3 
2.กปร.
3.กรมอุทยานฯ
4.กรมป่าไม้ 
5.กรมชลประทาน 
6.กรมประมง
7.กรมวิชาการเกษตร 
8.กรมส่งเสริมการเกษตร
9.กรมพัฒนาที่ดิน 
10.กรมพัฒนาชุมชน 
11.กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
12.สำนักงานทหารพัฒนา  กองบัญชาการทหารสูงสุด
13.สำนักงานเขตการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
14.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ 
15.องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง