ความเป็นมา
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2523และยังไม่มีหน่วยงานใดดำเนินการมาก่อน
- ดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่มีพระราชดำริใหม่เพิ่มเติม พ.ศ. 2528
- ทรงมีพระราชดำริ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) กับนายพิศิษฐ์ วรอุไร ตำแหน่งอาจารย์และ หัวหน้าศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ฯ คนแรก สังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถานที่ พระราชทานพระราชดำริ บ้านโรงวัว ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2527
โดยสรุปประเด็นสำคัญดังนี้ “’งานนี้เป็นประโยชน์ถึงประชาชนอย่างแท้จริงให้ขยายงานไปให้มากและหาคนให้มาช่วยงานเพิ่มขึ้น”
พระราชกระแสรับสั่งนี้ พระราชทานหลังจากที่ได้เริ่มงานครั้งแรกโดยรับพระราชทาน
พระราชทานทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่อทดลองขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และได้เริ่มทำแปลงสาธิตในหมู่บ้าน ที่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาได้ตั้งเป็นโครงการชื่อโครงการว่า “โครงการศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรม และส่งเสริมอาชีพราษฎรตามพระราชดำริ”
ที่ตั้งโครงการ
โครงการนี้ดำเนินงานกับกลุ่มชาวบ้านเป้าหมายในถิ่นทุรกันดาร เพื่อพัฒนาอาชีพด้านไม้ดอกไม้ผล และทำงานวิจัยและพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล ในพื้นที่ต่างๆ
1 สถานีวิจัยและฝึกอบรมหลัก ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 33 ไร่
2 สถานีวิจัยและฝึกอบรมย่อย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านใหม่ดอนชัย หมู่ที่ 8 ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ดำเนินการ 90 ไร่
3 สำนักงานประสานงาน และงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 งานพัฒนาอาชีพเกษตรด้านไม้ดอกไม้ผล ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัด
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้มีไม้ดอกไม้ผลพันธุ์ดีกระจายอยูตามหมู่บ้านในชนบท หากมีความต้องการหรือความจำเป็นก็สามารถขยายพันธุ์ออกปลูกเป็นจำนวนมากได้
2. เพื่อช่วยให้ราษฎรมีความสามารถในการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล และอาจผลิตพันธุ์ไม้จำหน่ายเป็นอาชีพรองได้
3. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ดอกของไทย
4. เพื่อพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย
5. เพื่อให้มีงานวิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์ การขยายพันธุ์ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ผล
เป้าหมายโครงการ
1. การพัฒนาการผลิตไม้ดอกไม้ผล
2. การพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล
3. การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และวิธีมาตรฐาน
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรให้ดีขึ้น
5. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
6. อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางชีวภาพของประเทศ
ระยะเวลาดำเนินการ
จนกว่าจะหมดความจำเป็นด้านการพัฒนาอาชีพ และฝึกเทคโนโลยีแก่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร และพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลให้เป็นของประเทศเอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ทางสังคม
1. ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการผลิตไม้ดอกไม้ผลของกลุ่มชาวบ้านเดิมให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น
2. กลุ่มชาวบ้าน(เดิม) ในโครงการสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน
3. รู้จักการทำงานแบบรวมกลุ่ม ทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย การทำบัญชี และการพึ่งตนเองในที่สุด
4. ประเทศมีพันธุ์ที่พัฒนาใหม่ และวิธีการผลิตที่เป็นของประเทศเอง
ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม
1. สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. การใช้ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ดินและน้ำได้รับการอนุรักษ์มากขึ้น
ประโยชน์ทางด้านจิตวิทยา
1. ราษฎรมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น
2. เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงของประเทศ
งบประมาณ
งบปกติ จำนวน 5,758,360 บาท
ผลการดำเนินงาน
1. แผนงานพัฒนาอาชีพเกษตร (โครงการต่อเนื่อง)
ศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยงานร่วมดำเนินการได้ติดตามผลการผลิตไม้ดอกไม้ผลของกลุ่มชาวบ้านภายใต้การดำเนินงานของโครงการฯ พร้อมทั้งแนะนำการแก้ไขปัญหาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลิตไม้ดอกไม้ผล แก่กลุ่มราษฎร จำนวน 40 กลุ่มในพื้นที่ 6 จังหวัด รวม 5,031 ไร่ มีรายได้ซึ่งกลุ่มชาววบ้านได้ดำเนินการจำหน่ายเองรวม 19,115,550 บาท (ข้อมูลถึงเดือน สิงหาคม 2547 ผลผลิตของหลายกลุ่มไม้ผลเพิ่งเริ่มเก็บเกี่ยวได้) ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขึ้น
2. แผนพัฒนาพันธุ์ไม้ดอก
นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของศูนย์ ได้ทำการพัฒนาพันธุ์พืชเป้าหมาย คือ แกลดิโอลัส พืชกลุ่มกระเจียว และไม้ดอกเมืองร้อนอื่น ขณะนี้อยู่ระหว่างทดสอบพันธุ์ใหม่
3. แผนงานวิจัย และพัฒนาขยายพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกและพืชพื้นเมือง
นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และของศูนย์ ได้ทำการวิจัย และพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอก
และพืชพื้นเมือง ทำให้สามารถขยายพันธุ์แกลโอดิลัส พันธุ์ขยายยากได้ 6 พันธุ์ และได้วิธีเบื้องต้นสำหรับการขยายพันธุ์พืชพื้นเมือง 2 ชนิด
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้ดินเอื้องใบหมาก และการผลิตปทุมมาในน้ำยา
4. แผนงานอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์
สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ดิน ซึ่งขยายพันธุ์ยากได้ 2 ชนิด ในปีงบประมาณนี้นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับนักวิชาการศูนย์ฯ และกองทัพภาคที่ 3 ได้อนุรักษ์พันธุ์รองเท้านารีอินทนนท์ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุ์รองเท้านารี อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง และได้ริเริ่มส่งเสริมให้ราษฎรปลูก จำนวน 3 ราย
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข
พื้นที่กลุ่มชาวบ้านบางกลุ่มประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ และบางกลุ่มมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โสรยา ร่วมรังษี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่
โทรศัพท์ 0-5321-3760 หรือ 0-53944-043 โทรสาร 0-5321-4092
หน่วยงานร่วมโครงการ
1.ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพะเยา
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
3. สหกรณ์วังทอง จังหวัดพิษณุโลก
4. นิคมสหกรณ์ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
5. อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่