ความเป็นมา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ณ บ้านทุ่งต้นงิ้ว หมู่ 11 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2544 ได้พระราชทานพระราชดำริกับอธิบดีกรมป่าไม้ (ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี) ซึ่ง เข้าเฝ้ารับเสด็จฯในครั้งนั้นสรุปประเด็นสำคัญของพระราชดำริคือ ให้รักษาป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลาย และขอให้อธิบดีกรมป่าไม้ช่วยดูแลราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรกลุ่มบ้านทุ่งต้นงิ้วซึ่งส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบเขา สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900 เมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภออมก๋อยเป็นระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 22 ตารางกิโลเมตร (13,750 ไร่) ขาดแคลนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยราษฎรกลุ่มบ้านทุ่งต้นงิ้ว และสภาพป่าในพื้นที่หมู่บ้านที่ถูกบุกรุกแผ้วถาง เพื่อทำการเกษตรของราษฎร สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำตั้งโครงการช่วยเหลือราษฎร บ้านทุ่งต้นงิ้ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
1. หมู่บ้านทุ่งต้นงิ้ว หมู่ที่ 11 ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
2. พิกัด 980 24’ 26” E 170 15’ 18” N หรือพิกัด47 Q 0436995 UTM 1907881 ระวางแผนที่ 4693I ชุด I...ความสูงจากระดับน้ำทะเล 795 เมตร
แผนที่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เพื่อพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรของราษฎรให้ได้รูปแบบสำหรับเป็นทางเลือกแก่ราษฎรโดยเน้นเศรษฐกิจพอเพียง และการดูแลรักษาตามหลักวิชาการเกษตร ที่ให้ความสำคัญในการผลิต ที่ลดการใช้สารเคมีและเน้นการใช้สารจากธรรมชาติเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับราษฎร
2 เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสม กับสภาพพื้นที่และภูมิประเทศ
3 เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำไว้บริโภคในครัวเรือน
4 เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าและที่ทำกินสำหรับการป้องกันรักษาป่าต้นน้ำลำธาร
5 เพื่อสร้างแหล่งไม้ฟืน ไม้ใช้สอย และพืชอาหารชุมชนให้กับราษฎรในหมู่บ้าน
เป้าหมายโครงการ
1 เพื่อให้ราษฎรบ้านทุ่งต้นงิ้ว จำนวน 98 ครัวเรือน 496 คน ได้รับการพัฒนาความเป็นอยู่มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2 เพื่อให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ป่า ถูกทำลายให้ได้รับการฟื้นฟูให้มีสภาพสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญต่อไป
3 การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างชัดเจนทำให้ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของราษฎร
งบประมาณ
1 งบปกติ จำนวน 2,505,000 บาท
2 งบ กปร. จำนวน - บาท
3 งบอื่น ๆ จำนวน - บาท
แผนการดำเนินงาน
1. กิจกรรมปลูกป่าทั่วไป 100 ไร่
2. กิจกรรมปลูกสร้างสวนป่าหวาย 50 ไร่
3. ปลูกป่าไม้ใช้สอย 50 ไร่
4. ปรับปรุงระบบนิเวศน์ต้นน้ำ 500 ไร
่5. เพาะชำกล้าหวาย 10,000 กล้า
6. เพาะชำกล้าไม้มีค่า 10,000 กล้า
7. บำรุงรักษาสวนเดิม 2-6 ปี 250 ไร่
8. บำรุงรักษาสวนเดิม 7-10 ปี 100 ไร่
9. บำรุงป่าไม้ใช้สอย 250 ไร่
10. บำรุงสวนป่าเพื่อการสาธิตและวิจัย 100 ไร่
11. แนวกันไฟ 5 กม.
12. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน 30 แห่ง.
13. งานพัฒนาพื้นที่และคุณภาพชีวิต 1 งาน
14. งานธนาคารอาหารชุมชน(Food BanK) 1 งาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1 ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตลอดจนมีขวัญและกำลังใจใจการดำรงชีวิต
2 ราษฎรมีความรักความหวงแหนถิ่นที่อยู่อาศัย ภายใต้ผืนแผ่นดินไทยและมีจิตสำนึกความเป็นไทย
3 ราษฎรมีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่าในท้องถิ่นตลอดจนเป็นผู้ช่วยเหลือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
4 ราษฎรมีการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายหรือยาเสพติด
5 สามารถฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารในบริเวณดังกล่าว
ผลการดำเนินงาน
ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไขปัญหา
1 การคมนาคมไม่สะดวก เนื่องจากเป็นทางลำลอง สภาพดินเป็นดินเหนียวปนดินลูกรัง ในฤดูฝนทำให้ยากลำบากในการเดินทาง ระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร
2 กิจกรรมที่ขอดำเนินงานบางกิจกรรมไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
3 การสื่อสารกับราษฎรส่วนมากซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงยังคงใช้ภาษากะเหรี่ยง ไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้ดี ทำให้เป็นอุปสรรคในการประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจถึงการดำเนินงานโครงการ
หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายเสกสรรค์ เขื่อนศรี ตำแหน่ง นักวิชาการป่าไม้ 6ว สังกัด กลุ่มประสานงานโครงการพระราชดำริ
หน่วยงานร่วมโครงการ
1 กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว สถาบันวิจัยข้าวเชียงใหม่
2 การศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งต้นงิ้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดเชียงใหม่เขต 5
3 ชุดประสานงาน สังกัด มณฑลทหารบกที่ 33 (ค่ายกาวิละ) 1 ชุดปฏิบัติการ
4 กรมประมง โดยสถานีประมงจังหวัดเชียงใหม่
5 การสาธารณสุข จัดตั้งสถานีอนามัยบ้านทุ่งต้นงิ้ว โดยสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
6 กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
7 กรมชลประทาน