โครงการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สวนป่าสิริกิติ์

ความเป็นมา

ลุ่มน้ำแจ่มเป็นลุ่มน้ำสาขาที่สำคัญของลุ่มน้ำปิง ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักของภาคเหนือตอนบน ลุ่มน้ำ        แม่แจ่มมีพื้นที่ประมาณ 3,637  ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาสูงชันปกคลุมไปด้วยสังคมพืชป่าไม้ชนิดต่างๆ ประมาณ 90%  นอกนั้นเป็นที่ราบเชิงเขา ประมาณ 6.70 % และเป็นที่ราบลุ่ม 3.30% มีลำน้ำแม่แจ่มเป็นแหล่งน้ำสำคัญ บริเวณต้นน้ำอยู่ด้านทิศเหนือสุดของพื้นที่ ในเขตพื้นที่ตำบลวัดจันทร์ ไหลผ่านบริเวณส่วนกลางของพื้นที่อำเภอแม่แจ่มยาวประมาณ 135 กิโลเมตร และไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้าน           สบแจ่มอีกรวม 26 สาย สำหรับในส่วนพื้นที่ราบลุ่มนั้น พบว่าพื้นที่ราบลุ่มบริเวณสองฝั่งริมน้ำแม่แจ่มใกล้ที่ว่าการอำเภอ มีพื้นที่ที่มากที่สุดประมาณ 47 % ของพื้นที่ราบลุ่มทั้งหมด ซึ่งสภาพเหมาะแก่การเพาะปลูก นอกนั้นเป็นที่ราบลุ่มขนาดเล็กกระจายอยู่ตามหุบเขาทั่วไป เพิ่มเติม

ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน

ตำบลกองแขก   อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1  เพื่อดำเนินการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริให้คนอยู่คู่กับป่าไม้  โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้
2  เมื่อวางแผนการพัฒนาและใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้  โดยให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการพัฒนาอย่างเป็นระบบโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
3  เมื่อเสริมสร้างแนวคิด  ในการอนุรักษ์ป่าไม้  โดยชุมชนและสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ  ให้เป็นแกนนำในการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้
4  เพื่อประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องให้เข้ากันอย่างเป็นระบบ
5  ปลูกฝังแนวทางและความร่วมมือในการดำเนินชีวิตของราษฎรที่อยู่อาศัยในลุ่มน้ำทั้งตอนบนซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ  และตอนล่างซึ่งได้อาศัยประโยชน์จากแหล่งต้นน้ำลำธารตอนบนให้เกื้อกูลซึ่งกันและกัน  โดยมีความเข้าใจในการจัดการลุ่มน้ำ
6  ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรเพื่ออาศัยอยู่ในลุ่มน้ำตามแนวพระราชดำริ

เป้าหมายโครงการ

1  พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น
2  มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกวิธี  และมีคุณภาพ
3  ลดพื้นที่การทำไร่เลื่อนลอย
4  ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
5  คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

งบประมาณการดำเนินการ

งบปกติ  จำนวน  1,607,210  บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1  พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น
2  มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกวิธี  และมีคุณภาพ
3  ลดพื้นที่การทำไร่เลื่อนลอย
4  ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
5  คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ผลการดำเนินงาน

1  ปลูกป่าหวาย                                               จำนวน       20  ไร่
2  ปลูกไม้ใช้สอย                                            จำนวน        50  ไร่
3  ปรับปรุงระบบนิเวศต้นน้ำ                                จำนวน      150  ไร่
4  เพาะชำหญ้าแฝก                                         จำนวน   8,000  กล้า
5  เพาะชำกล้าหวาย                                         จำนวน   7,000  กล้า
6  ทำแนวกันไฟ                                              จำนวน         5   กม.
7  สร้างฝายต้นน้ำกึ่งถาวร                                  จำนวน         2  แห่ง
8  สร้างฝานต้นน้ำแบบผสมผสาน                        จำนวน        20  แห่ง
รูปกิจกรรมการดำเนินงาน

ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

- พื้นที่อยู่ห่างไกล มีสภาพเป็นภูเขาสูงชัน เส้นทางคมนาคมไม่สะดวกในช่วงฤดูฝน ยานพาหนะมีสภาพเก่าชำรุดบ่อย
- ชุมชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยง มีแนวคิดเป็นแบบดั้งเดิม มีความต้องการพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่าการเพิ่มผลผลิตตามแนวทางวิชาการ การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกวิธี
แนวทางแก้ไข
- สร้างจิตสำนึกปลูกฝังให้ความรู้แก่เยาวชน และชุมชนเพื่อให้เกิดความรักหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- วัสดุอุปกรณ์และยานพาหนะที่มีสภาพสมบูรณ์มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานงาน

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
นายนคร ใจเย็น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ โทรศัพท์ 053-892196, 06-1807091   

หน่วยงานร่วมโครงการ

-