ความเป็นมา/พระราชดำริ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่บริเวณดอยดำ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545 เวลา 16.20 น. ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ขึ้น โดยมอบหน้าที่ให้ชาวบ้านในโครงการดูแลและปลูกฟื้นฟูพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นเสมือนยามเฝ้าระวังชายแดนด้วย แต่พื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง, เขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 จึงเกิดข้อจำกัดด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ การแก้ไขจึงต้องดำเนินการในลักษณะโครงการทดลองทางวิชาการเพื่อการบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และตามระเบียบต้องดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ (หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ/ผู้ได้รับมอบหมาย) สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ (สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 ในปัจจุบัน) ได้มีหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ด่วนที่สุดที่ กษ 0723.7/1893 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ขออนุมัติใช้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่หาดเนื้อที่ 16,850 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการ พร้อมขออนุมัติแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และต่อมากรมป่าไม้ได้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1961/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการทดลองให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่ ดอยดำ ตามพระราชดำริ” ขึ้น
พระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545
"ให้จัดตั้งเป็นบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้น โดยมอบหน้าที่ให้ชาวบ้านในโครงการดูแลและปลูกฟื้นฟู พื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นยามเฝ้าระวังชายแดน"
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2547
"ชาวบ้านปลูกงากันหรือไม่ งามีประโยชน์นะ"
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549
1. "ขยายการเลี้ยงปลาเพิ่ม ให้ดอยดำเป็นศูนย์ปลาเทร้าท์ของโครงการพระราชดำริ โดยให้กรมประมง และกรมชลประทานไปปรึกษา กปร."
2. "ให้หาปลาที่เลี้ยงได้ดีในที่มีอากาศหนาว รับประทานอร่อย มาให้ชาวบ้าน"
ที่ตั้งโครงการและข้อมูลพื้นฐาน
บ้านดอยดำ หมู่ที่ 7 ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
แผนที่
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
1.1 จัดตั้งหมู่บ้านในลักษณะโครงการ "บ้านเล็กในป่าใหญ่" ขึ้น
1.2 ดูแล และปลูกฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร
1.3 เป็นยามเฝ้าระวังชายแดน และป้องกันยาเสพติด
2. เพื่อศึกษาวิจัยและทดลองหาวิธีการให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนในลักษณะ “บ้านเล็กในป่าใหญ่”
3. เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
เป้าหมายโครงการ
1. คัดเลือกราษฎรยากจนไม่มีที่ทำกิน ขยัน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าร่วมโครงการ 4 ชนเผ่า ได้แก่ อาข่า ลีซอ มูเซอร์ และกะเหรี่ยง เผ่าละ 5 ครอบครัว รวม 20 ครอบครัว
2. พัฒนาคุณภาพชีวิต (อิ่ม) รวมทั้งสร้างความมั่นคง (อุ่น) ตลอดจนสร้างจิตสำนึก (อุดมการณ์) ให้กับราษฎรจำนวน 20 ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯ
3. ศึกษาหารูปแบบวิธีการและแนวทางในการจัดการให้คนอยู่กับป่าได้อย่างกลมกลืนโดยไม่ทำลายป่า แล้วมอบหน้าที่ในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำลำธาร จำนวน 16,720 ไร่ ตลอดจนให้เป็นยามรักษาชายแดนรวมทั้งป้องกันปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดน
ระยะเวลาดำเนินการ
กำหนดระยะเวลาดำเนินการเป็น 4 ห้วงระยะเวลา รวมทั้งสิ้น 10 ปี โดยกำหนดห้วงระยะเวลา ดังนี้
ระยะที่ 1 แผนงานเร่งด่วน
ปีงบประมาณ 2545
เพื่อจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนจัดราษฎรเข้าร่วมโครงการ
ระยะที่ 2 แผนแม่บทระยะที่ 1 ประกอบด้วย
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2546 – 2548
เพื่อปรับฐานความคิด ปฏิบัติ
แผนงานติดตามและประเมินกิจกรรม (ปีงบประมาณ 2548)
ระยะที่ 3 แผนแม่บทระยะที่ 2 ประกอบด้วย
แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2549 – 2551
เพื่อปฏิบัติ ทดสอบพฤติกรรม สู่อุดมการณ์
แผนงานติดตามและประเมินพฤติกรรม (ปีงบประมาณ 2551)
ระยะที่ 4 แผนแม่บทระยะที่ 3 ประกอบด้วย
แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2552 – 2554
เพื่อทดสอบอุดมการณ์ การสืบทอด
แผนงานประเมินผลโครงการ (ปีงบประมาณ 2554)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ราษฎร 4 เผ่า 20 ครอบครัว มีความมั่นคงในชีวิต และได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอมีพอกิน ตลอดจนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นกำลังในการป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่โครงการฯ อีกทั้งมีความสำนึกในความเป็นคนไทยและรักประเทศไทย พร้อมเป็นยามเฝ้าระวังป้องกันประเทศและต่อต้านขบวนการค้ายาเสพติด
2) ได้ทราบแนวทางในการจัดการให้ชาวเขา 4 เผ่า สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างกลมกลืน โดยไม่ทำลายป่า
3) ป่าต้นน้ำ จำนวน 16,720 ไร่ ได้รับการป้องกันและฟื้นฟูให้อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแหล่งควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
4) ได้ข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป
งบประมาณ
1 งบปกติ จำนวน 1,630,400 บาท
2 งบ กปร. จำนวน - บาท
3 งบอื่นๆ (ระบุ) จำนวน - บาท
ผลการดำเนินงาน
หน่วยงานหลัก
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
หน่วยงานร่วมโครงการ
-