ผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ผลการดำเนินงาน รอบ 1 ปี ( ต.ค.49 – ก.ย.50 )
1. แผนงานจัดตั้งถิ่นฐานและการปกครอง โดย อำเภอแม่อาย ยอดประชากร จำนวน 26 ครอบครัว
รวม ๑๑๔ คน ชาย ๕๖ คน หญิง ๕๘ คน ได้รับสัญชาติ ๑๐๓ คน ยังไม่ได้รับสัญชาติ ๑๑ คน มี 4 เผ่า ดังนี้
เผ่าอาข่า 11 ครอบครัว จำนวน ๕๑ คน ได้รับสัญชาติ 45 คน ไม่ได้รับสัญชาติ 6 คน
เผ่ากะเหรี่ยง 1 ครอบครัว จำนวน ๔ คน ได้รับสัญชาติ 4 คน ไม่ได้รับสัญชาติ - คน
เผ่ามูเซอ 7 ครอบครัว จำนวน ๓๐ คน ได้รับสัญชาติ 26 คน ไม่ได้รับสัญชาติ 4 คน
เผ่าลีซอ 7 ครอบครัว จำนวน ๒๙ คน ได้รับสัญชาติ 28 คน ไม่ได้รับสัญชาติ 1 คน
2. งานพัฒนาป่าไม้และสิ่งแวดล้อม โดย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16
สำรวจและศึกษาพืชสมุนไพรและพืชป่ากินได้ เก็บรวบรวมนำมาปลูก
แทรกแปลงเกษตรผสมผสาน 2 งาน ดูแลกล้าไม้ในแปลง
เช่น แอปเปิ้ลป่า สนสามใบ นางพญาเสือโคร่ง 300,000 ต้น
อนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากในพื้นที่โครงการฯ สร้างฝายกักเก็บน้ำ
เพาะต้นกล้านางพญาเสือโคร่ง 20,000 ต้น เพื่อทดแทนจำนวนที่จ่ายไป สนับสนุนกล้าไม้นางพญาเสือโคร่ง 15,000 ต้น
ให้หน่วยงานร่วมฯ เตรียมพื้นที่ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช 1,000 ไร่
3. แผนงานจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำ โดย โครงการชลประทานเชียงใหม่ซ่อมแซมระบบส่งน้ำเพื่อการอุปโภค/บริโภค และอาคารประกอบโครงการฯ
จัดสร้างตอม่อ ขุดลอกและซ่อมอาคารระบายทรายและตรวจสอบระบบท่อส่งน้ำ
พร้อมให้คำแนะนำในการบำรุงรักษา
4. แผนงานพัฒนาที่ดิน โดย สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่
สำรวจจัดทำแผนที่ระดับขอบเขต และวางแผนการใช้ที่ดิน 500 ไร่
จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 300 ไร่ สาธิตการทำปุ๋ยพืชสด 100 ไร่ สาธิตการทำ/การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 100 ไร่ทำการปรับปรุงพื้นที่ดินกรด
(ใส่ปุ๋ยโดโลไมท์) 50 ไร่ และปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยทริปเปิลชูเปอร์ฟอสเฟส 50 ไร่
5. แผนงานพัฒนาด้านการเกษตร โดย ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ , ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่,
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
ติดตามผลการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวและประเมินผลสนับสนุนกล้าพันธุ์กาแฟ และรับซื้อผลผลิตกาแฟ
จากราษฎรดำเนินการปลูกกาแฟเพิ่ม120ไร่อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรหลักสูตรการปลูก
และการจัดการแปลงกาแฟ พร้อมการดูแลรักษาแปลงไม้ผล 70 ราย ต่อยอดต้นพีช ติดตามดูแลการ
เจริญเติบโตต้นพีชที่ปลูกในพื้นที่โครงการฯ ติดตามงานทดลองปลูกข้าวสาลี และประสานเรื่องการปลูกข้าว
ในแปลงนาราษฎรเพื่อปลูกข้าวไร่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการผลิต ส่งเสริมการปลูกข้าวไร่ ส่งเสริมการปลูกผัก
ปลอดสารพิษ ส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน ส่งเสริมการปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ศูนย์วิจัยหม่อนไหมเชียงใหม่ สนับสนุนกล้าพันธุ์หม่อนพันธุ์เชียงใหม่ จำนวน 1,750 กล้า เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวสาลี
ปลูกข้าวในแปลงนาร่วมของราษฎร 3 ไร่ ติดตามดูแลการเจริญเติบโตข้าวในแปลงนา ประชุมชี้แจงราษฎรเรื่องการปลูกถั่วลิสง และแจกพันธุ์ถั่วลิสงให้กับราษฎร เพื่อปลูกในไร่นา ครอบครัวละ 1 ไร่
6. แผนงานพัฒนาด้านการประมง โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่
เพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ได้แก่ พันธุ์กบเปอะ เขียดแลว ปาดอินทนนท์ ปลาแก้มช้ำ เพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพาะพันธุ์ปลาไน เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรเลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน เพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์เทราท์ และปลากดหลวง เลี้ยงในบ่อของโครงการ ฯ เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม จำนวนทั้งหมด 12,140 ตัว ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ กบเปอะ 40,000 ตัว พันธุ์ปาดอินทนนท์ 20,000 ตัว ปลาแก้มช้ำ20,000 ตัว และพันธุ์เขียดแลว 2,000 ตัว แจกพันธุ์ปลาไนให้กับราษฎร รายละ 400 ตัว
จำนวน 50 ราย พันธุ์ปลากดหลวง 20 ตัว จำนวน 7 ราย ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับราษฎร จำนวน 50 ราย ติดตามให้คำแนะนำราษฎรในการเลี้ยงปลา เช่นการหาอาหารสมทบ เปลี่ยนถ่ายน้ำ และทำความสะอาดบ่อ จับปลาเรนโบว์เทราท์ 377 ตัว แจกให้ราษฎร 36 ตัว นน.18 กก. ส่งจำหน่าย 341 ตัว นน. 242.9 กก. ผลผลิตปลากดหลวง จับปลากดหลวง 94 ตัว แจกให้ราษฎรบริโภค
40 ตัว นน.40 กก. ส่งจำหน่าย 54 ตัว นน.54 กก. คงเหลือในบ่อเลี้ยง 350 ตัว เลี้ยงต่อให้ได้ขนาด
รวมรายได้จากการเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราท์และปลากดหลวง มีรายได้ จำนวน 24,870 บาท
7. แผนงานปศุสัตว์ โดย สำนักงาน ปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่
สาธิตและทดลองเลี้ยงหมูหลุม แม่พันธุ์ 3 ตัว เลี้ยงไก่สามสายเลือด
เพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎร พ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 8 ตัว ไก่รุ่น 5 ตัว
ลูกไก่ 5 ตัว
8. แผนงานพัฒนานอกภาคการเกษตร โดย ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย
ตรวจงานศิลปาชีพของราษฎรในโครงการฯ จัดการเรียนการสอนวิชาชีพระยะสั้น
เช่น ช่างเครื่องเงิน ,ทำปุ๋ยหมักด้วยพืชสด เพาะเห็ดนางฟ้าภูฎานเห็ดหอม เห็ดหัวลิง จัดการสอนวิชาชีพการปักผ้าของชนเผ่า
9. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดย กรมทางหลวงชนบท จนท.กรมทางหลวงชนบท ได้ทำการสำรวจเส้นทางเพื่อสร้างถนนขึ้นโครงการ ฯ ในปีงบประมาณ 2550
10. แผนงานพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต โดย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ , ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย, สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ และสถานีอนามัยโป่งไฮ
ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค บาดทะยัก หัดเยอรมัน ให้กับเด็กในพื้นที่โครงการฯ 22 คน รพ.แม่อาย จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้การรักษาราษฎรในโครงการฯ 44 คน จัดการเรียนการสอนขั้นเตรียมความพร้อม ถึงประถมศึกษา 34 คน จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 34 คน นักศึกษาสายสามัญ 11 คน จัดสอนวิชาชีพปัก ทอผ้าชนเผ่า ตรวจสอบติดตามและบำรุง รักษาระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
11. แผนงานด้านความมั่นคง โดย กองพลพัฒนาที่ 3 ชป.โครงการจัดกำลังพลพบปะผู้นำราษฎรพื้นที่เป้าหมาย เป็นประจำทุกวันในลักษณะHOME TO HOME / DAY BY DAY เพื่อประสานความสอดคล้องด้านแนวความคิดให้ได้มาซึ่งความร่วมมือและข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และการกำหนดมาตรการต่อต้านภัยคุกคามต่างๆโดยเฉพาะพิษภัยจากยาเสพติดรวมถึงการติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจส่ง ผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ตลอดจนปฏิบัติการจิตวิทยาประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังอุดมการณ์ ความจงรักภักดีต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสร้างจิตสำนึกของราษฎรให้มีความเป็นไทย รู้จักสิทธิหน้าที่ของตนในสังคมและชุมชน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จัด กพ. ร่วมกับ จนท.ป่าไม้ ลว.ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่รับผิดชอบ และเพาะกล้าแฝกเพื่อเตรียมขยายพันธุ์
นอกจากภารกิจประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ แล้ว ยังได้จัดชุดปฏิบัติการประสานงาน และคุ้มครองป้องกันชุมชนลาดตระเวนพื้นที่โครงการฯ หมู่บ้านเป้าหมาย และฝึกอบรมราษฎรอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองป้องกันชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ชุดปฏิบัติการ ฯ ร่วมกับราษฎร สร้างฝายต้นน้ำลำธาร เพื่อชะลอการไหลของน้ำและสร้างความชุ่มชื้นแก่พื้นที่ และปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
จากผลการดำเนินงาน ทำให้ราษฎรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลให้การพัฒนาด้านต่างๆ สามารถบรรลุผลสำเร็จ ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากราษฎร