ปัญหาอุปสรรค์ และ แนวทางแก้ไข
ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการฯ ที่นับว่าเป็นปัญหาหลักที่สำคัญยิ่งและมีผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านอื่นๆ ของโครงการฯ ด้วยอย่างมาก คือ ปัญหาในการจัดที่ดินซึ่งสรุปดังนี้
10.1 ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินตามโครงการฯ ไม่ปฎิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2521 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไปเกี่ยวกับการจัดที่ดินตามโครงการฯ เช่น ไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ในที่ดินภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากทางราชการ
10.2 มีราษฎรหลายรายที่ไม่ได้มีสิทธิในที่ดินจัดสรร ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และไม่ยอมออกจากที่ดินตามโครงการฯ โดยอ้างว่าได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนที่จะมีการจัดที่ดินตามโครงการฯ และเป็นเหตุให้ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินจัดสรรไมที่ดินจากทางราชการ
10.3 ผู้ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินตามโครงการฯ ไม่ยอมเข้าทำประโยชน์ในที่ดินตรงตามแปลงที่ทางราชการจัดสรรไว้และต้องการสิทธิในที่ดินให้ได้เนื้อที่มากกว่าที่ทางราชการกำหนด
10.4 ผู้ที่ได้รับจัดสรรที่ดินปล่อยทิ้งที่ดินไม่ยอมเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ บางแปลงนำไปขายให้เช่า และปล่อยให้บุคคลผู้ไม่ได้รับการจัดสรรเข้าอยู่อาศัยและทำกิน
10.5 การจัดที่ดินตามโครงการฯ ไม่มีการออกหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ได้รับการจัดสรรเป็นเหตุให้ทางราชการยากแก่การตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินใด ใครเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน มีเนื้อที่ และอาณาเขต อย่างไรบ้าง พื้นที่โครงการประสบปัญหาความแห้งแล้ง กิจการเกษตรไม่ค่อยได้ผล แม้จะมีอ่างเก็บน้ำห้วยมะนาว (ปี 2545 กรมชลประทานได้จัดสร้างคลองส่งน้ำตามพื้นที่ทำกินของราษฎร)
อุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาของกรมส่งเสริมสหกรณ์ / และสภาพปัญหาอุปสรรค
การจัดสรรที่ดินตามโครงการฯ ได้แบ่งที่ดินออกประมาณ 400 แปลงเศษ ปรากฎว่าเป็นพื้นที่ที่ซ้ำซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ขาน-แม่วาง จำนวน 57 แปลง แปลงละ 6-0-0 ไร่ เนื้อที่ประมาณ 345 ไร่ ระหว่างหลักเขตที่ 418-429 โดยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ 2,179 ไร่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รายงานกรมป่าไม้เพื่อขอเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ขาน – แม่วาง ตามบันทึกกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ.1105/9636 ลงวันที่ 11 กันยายน 2542 เพื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์จะได้เข้าดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ วันที่ 24 กรกฎาคม 2532 และตามบันทึกกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ.1105/2880 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2545 ได้ประมวลเรื่องการขอเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ขาน-แม่วาง เนื้อที่ประมาณ 345 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการ หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยมะนาวจังหวัดเชียงใหม่
การจัดซื้อ – ขาย พื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัยของสมาชิก มีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีนายทุนเข้ามาให้ราคาจุงใจมีจำนวนมากถึง 80% ของราษฎรเดิมที่ได้รับการคัดเลือก (การซื้อ-ขายเปลี่ยนมือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง) ถึงแม้จะมีการชี้แจงโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกร์ว่าห้ามซื้อ – ขาย จำหน่ายจ่ายโอนและให้ตกทอดถึงทายาทลูกหลานเท่านั้นก็ตาม
ปัญหาต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ ได้ถูกนำมาพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการตามโครงการฯ ทั้งในระดับจังหวัดและในระดับกระทรวงหลายครั้งหลายหน ครั้งสุดท้ายได้มีการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 โดยจังหวัดเชียงใหม่ ได้เชิญผู้แทนกรมที่ดินเข้าร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมได้มีมติเห็นว่าควรมอบพื้นที่ตามโครงการฯ ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ รับไปดูแลรับผิดชอบ และจัดหาผลประโยชน์ ตามาตรา 10,11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้เพื่อที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ จะได้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนนิการดับผู้ขัดขวาง การจัดหาผลประโยชน์หรือฝ่าฝืนข้อบังคับได้ และเพื่อให้เป็นไปตามนัยมติ ของคณะกรรมการระดับกระทรวง ซึ่งได้ลงมติไว้แล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 (ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520) จังหวัดเชียงใหม่จึงได้แจ้งให้กรมที่ดินเพื่อนำเนื่องเสนอคณะกรรมการ การจัดที่ดินแห่งชาติ ก็ได้มีมติเห็นชอบ ให้มอบพื้นที่โครงการฯ ให้กรมส่งเสริม สหกรณ์ไปดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ ตามมาตรา 10,11 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินตามที่คณะกรรมการดำเนินงานจัดที่ดินห้วยมะนาว (ระดับกระทรวง) มีมติไว้โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ และสนับสนุนในการดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ดังกล่าว