ประวัติความเป็นมา

         วันที่  26  มีนาคม  2546   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย  ตำบลปางหินฝน  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่  พิกัด 47 QMA 085336  ทรงพบว่าพื้นที่ป่าดอยอมพาย ได้ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย อย่างกว้างขวาง เป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ไร่   และมีแนวโน้มว่าราษฎรจะทำการบุกรุกพื้นที่ป่า  เพื่อขยายพื้นที่ทำกินเพิ่มขึ้นอีก  เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินและปัญหาที่ดินขาดสารอาหารสำหรับพืชไร่  ทำให้ต้องจับจองที่ดินเพื่อเป็นไร่หมุนเวียนเพิ่มขึ้นครอบครัวละหลาย ๆ แปลง  ถ้าปล่อยให้สถานการณ์การบุกรุกแผ้วถางป่าดำเนินไปเช่นกัน  พื้นที่ป่าไม้ก็จะถูกทำลายลงจนหมดสิ้นอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอยอมพาย  ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำแม่ปิงน้อย  ระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 12,000  แมตร  และยอดสูงสุด  มีความสูง  1,480  เมตร  จากระดับน้ำทะเลปานกลางมีลำห้วยสายเล็ก ๆ เช่น ลำห้วยแม่ปุ๊  ไหลลงสู่ลำแม่ปิงน้อยและไหลต่อไปยังลำน้ำแม่แจ่ม ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาหลักของลำน้ำแม่ปิงจะส่งผลกระทบให้ลำน้ำแม่ปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของประเทศขาดแคลนน้ำต่อไปในอนาคต  สภาพพันธุ์พืชและสัตว์ป่า  จากการสำรวจพบว่าสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา  สัตว์ป่าที่อาศัยบริเวณนี้ยังมีพอสมควร  เช่น  เก้ง  ชะนี     กระต่าย  ไก่ป่าต่าง ๆ หมูป่า  เม่นหางสั้น  เม่นหางพวง  แมวป่า    และนกชนิดต่าง ๆ      สัตว์เลื้อยคลาน  เช่น  งูเหลือม  งูหลาม  งูเห่า  ฯลฯ  สภาพภูมิอากาศมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น  อุณหภูมิเฉลี่ย  ระหว่าง 10- 25 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับปลูกพืชไม้เมืองหนาว  สำหรับชุมชนที่ขึ้นมาบุกรุกจับจองที่ทำกิน  บริเวณพื้นที่โดยรอบดอยอมพาย มีจำนวน  4  กลุ่ม  คือ

               กลุ่มที่ 1  ใช้ชื่อกลุ่มบ้านสาม             มี  36   ครอบครัว  ประชากร  190  คน
               กลุ่มที่  2  ใช้ชื่อกลุ่มผักไผ่               มี  23   ครอบครัว  ประชากร  190  คน
               กลุ่มที่  3  ใช้ชื่อกลุ่มละอางใต้            มี   5   ครอบครัว  ประชากร  34   คน
                                                             
         ทั้ง 3 กลุ่ม เป็นชาวเขาเผ่าลั๊วะ  จากหมู่บ้านสาม  ตำบลห้วยห้อม  อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  นับถือศาสนาพุทธและคริสต์  มาจับจองที่ดินในเขตดอยอมพาย  อำเภอแม่แจ่ม  จังหวัดเชียงใหม่  ครอบครัวละ 3 – 4  แปลง ๆ ละประมาณ 5 – 10 ไร่  ทำไร่หมุนเวียนปลูกกระหล่ำปลี  เพื่อส่งไปจำหน่ายที่บ้านกองลอย  อำเภอฮอด  จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งอยู่ห่างออกไป  76  กิโลเมตร              
         กลุ่มที่ 4 เป็นราษฎรชาวกระเหรี่ยงจากหมู่บ้านเซโดซา อำเภอแม่แจ่ม จากจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ทราบจำนวนได้เข้ามาบุกรุกที่ทำกิน   ทำไร่ข้าวโพด    ฟักทอง   และกระหล่ำปลี ราษฎรชาวกระเหรี่ยงกลุ่มนี้กำลังมีปัญหาขัดแย้งที่ดินทำกินกับชาวลั๊วะจากลุ่มบ้านสาม และที่หมู่บ้านเซโดซา ยังเป็นแหล่งยาเสพติดที่สำคัญ ที่ทางราชการควรจะให้ความสนใจแก้ไขปัญหาเป็นพิเศษอีกด้วย ���������
         สมเด็จพระนางเจ้าฯ    พระบรมราชินีนาถ      ได้ทรงรับทราบปัญหาดังกล่าวจึงได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรพื้นที่ดอยอมพาย  ในวันนี้  ได้ทรงเชิญแม่ทัพภาคที่  3   ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่  ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ผู้แทนกรมชลประทาน  ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่  36 และหัวหน้าส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมเพื่อแก้ปัญหา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง“สถานีพัฒนาการเกษตรในพื้นที่สูง ดอยอมพาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลปางหินฝน อำเภอปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่”เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น