วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ 20 ปี

"นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง บนพื้นฐานของการกระจายโอกาสอย่างเป็นธรรม และยั่งยืน"

(เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง เมืองแห่งโอกาส เป็นธรรม (ลดความเหลื่อมล้ำ) และเมืองที่เติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหานครแห่งชีวิตที่มีความมั่นคง และยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (พ.ศ.2566-2570)ฉบับทบทวน พ.ศ.2568

"เมืองฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์คุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม"

ประวัติ

อาณาบริเวณของเมืองเชียงใหม่ในอดีตเป็นที่ตั้งของเมืองเก่า ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทย อันมีนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" กษัตริย์ผู้สร้างนครเชียงใหม่ พ่อขุนเม็งรายมหาราช พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยบนแผ่นดินล้านนาไทย พระองค์เป็นพระโอรสผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าลาวจักราช ซึ่งเป็นผู้สร้างอาณาจักรโยนก ในระยะที่พ่อขุนเม็งรายเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรล้านนาไทยนั้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเรืองอำนาจในอาณาจักรสุโขท้ย และพ่อขุนงำเมืองเป็นใหญ่ในเมืองพะเยา กษัตริย์ทั้งสามพระองค์เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานด้วยกัน ฉะนั้นเมือพ่อขุนเม็งรายรวบรวมเมืองต่างๆ เข้าเป็นบึกแผ่น โดยในปี พ.ศ.1824 พระองค์ทรงกรีธาทัพเข้าตี นครหริภุญไชย ซึ่งมีพญายีบาครองและเป็นนครที่มั่นคงแข็งแรงที่สุดทางตอนใต้ ก็เสด็จประทับอยู่ในนครหริภุญไชย เป็นเวลา 2 ปี และได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกของนครหริภุญไชย ทรงครองอยู่ได้สามปีทรงเห็นว่าไม่เหมาะสมจึงย้ายราชธานีมาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ริมฝั่งแม่น้ำระมิงค์ มีชื่อว่า "เวียงกุมกาม" (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี) ทรงครองราชย์ จนถึง พ.ศ.1835 ก็เกิดนิมิตรประหลาดดลพระทัยให้พ่อขุนเม็งรายไปประพาสป่าและทอดพระเนตรพบชัยภูมิที่จัดสร้างเมืองใหม่ โดยให้สร้างที่ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก หรือ เวียงเชียงมั่น(วันเชียงมั่นในปัจจุบัน) จากนั้นโปรดให้ไพร่พลถางป่า และปรับพื้นที่บริเวณเชิงดอยอ้อยช้างหรือ ดอยสุเทพในปัจจุบัน และโปรดให้เชิญพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนงำเมือง มาช่วยพิจาณาสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระสหาย 2 พระองค์เสด็จมาถึงและได้เห็นชัยภูมิที่ราบอันสมบูรณ์ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตรงเชิงดอยสุเทพ พ่อขุนรามคำแห่งมหาราชทรวงมีพระดำรัสว่า "เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนกระทำร้ายมิได้ คนไหนมีเงินพันมาอยู่จะมีเงินหมื่นคร้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะได้เงินแสน" พ่อขุนงำเมืองมีความเห็นว่า "เขตเมืองนีดีจริง เพราะมีเนื้อดินมีพรรณรังสี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธิ์นักแล" พ่อขุนเม็งรายทรงดำเนินการสร้างเมืองใหม่ โดยให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมือง เป็นสีเหลี่ยม พร้อมทั้งให้โปรดสร้างปราสาท ราชมณเทียรและบ้านเรืองในปี พ.ศ.1839 ขนานนามพระนครแห่งใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" หรือชื่อเรียกกันสามัญว่า "นครพิงค์เชียงใหม่" พ่อขุนเม็งรายทรงประกอบพิธีปราบดาภิเสกเป็น กษัตริย์ปกครองอาณาจักรล้านนาไทย รายธานีอยู่่ที่นครเชียงใหม่ และทรงเป็นตันราชวงศ์เม็งรายอยู่จนถึง พ.ศ.1880 ในวันหนึ่งขณะประพาสตลาดกลางเมืองนครเชียงใหม่ ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก จนอัสนีบาตได้ตกต้องพระองค์สิ้นพระชนม์เมือพระชนมายุได้ 79 พรรษา และมีเชื้อสายของพ่อขุนเม็งรายได้แกครองอาณาจักรล้านนาไทยต่อเนื่องมา

เมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาไทยมาเป็นเวลานาน โดยตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา และประเทศเมียนมาร์อยู่หลายยุคสมัย จนในที่สุดสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช ทรางตีนครเชียงใหม่ได้จากประเทศเมียรมาร์เมื่อปี พ.ศ.2317 และทรวงกวาดล้างอิทธิพลของเมียนมาร์จากล้านนาไทยได้สำเร็จ เชียงใหม่จึงกลับมาเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสถาปนา "พญากาวิละ" (กาวิละ ณ เชียงใหม่) ขึ้นเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ และเป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ สืบต่อมา 9 พระองค์ และมีเจ้านวรัฐเป็นองค์สุดท้าย จนถึงรัฐสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2440 ทรงยุบเมืองประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย แบ่งการปกครองราชอาณาจักรเป็นมณฑล ได้ยกเมืองเชียงใหม่ เป็นมณฑลพาบัพ และภายหลังเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบัน รวมระยเวลาของเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2567 อายุ 728 ปี

ตราประจำจังหวัด

รูปช้างเผือกหันหน้าตรงในเรือนแก้ว

ช้างเผือก หมายถึง ช้างที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ นำทูลเกล้าถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ขึ้นระวางเป็นช้างเผือกเอก ในรัชกาลพระองค์

เรือนแก้ว หมายถึง ดินแดนที่พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นเจริญรุ่งเรือง จนเคยเป็นสถานที่สำหรับสังคายนา(คือการชำระความถูกต้อง) พระไตรปีฏก เมื่อพุทธศักราช 2020

การปกครอง

จังหวัดเชียงใหม่ประกอบไปด้วย 25 อำเภอ มีหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1 แห่ง
- เทศบาลนคร จำนวน 1 แห่ง
- เทศบาลเมือง จำนวน 4 แห่ง
- เทศบาลตำบล จำนวน 116 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 89 แห่ง