ความเป็นมา อพ.สธ.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

พ.ศ. 2503 ทรงพยายามปกปักยางนา

ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จ พระราชดำเนินโดยรถไฟ ต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์ เมื่อเสด็จฯ ผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะ สงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่ สามารถจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนใน บริเวณนั้นมาก จะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้

พ.ศ. 2504 ป่าสาธิตทดลอง

เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางนาที่อำเภอท่ายางได้ จึงทรง ทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในเขตอำเภอ ท่ายาง ในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้น ยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พร้อมข้าราช- บริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1,250 ต้นแม้ต้นยางที่ท่ายางสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนาเหล่านั้นยังอนุรักษ์ ไว้ได้ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่ว ประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับ สวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช

ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนัก ไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ความสำเร็จของการใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขยายพันธุ์ขนุนไพศาล ทักษิณ นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ พระราชวังต่างๆ แล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้อีกหลายชนิด ได้แก่พุดสวน มณฑา ยี่หุบ ที่อยู่ในพระบรมมหาราชวัง และสมอไทยในพระที่นั่งอัมพรสถานมงคล ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ใน สภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลว มีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์

พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย

ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย

พ.ศ. 2529 สวนพืชสมุนไพร

ในปี พ.ศ. 2529 นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นใ โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวม พืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไป ใช้ประโยชน์กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้เริ่มดำเนินการ โดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี ๒๕๓๖ สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน

กิจกรรม


การเยี่ยมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ”
ของนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “นิทรรศการ ร่วมใจ สืบสวน รักษา ต่อยอดวันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2560 ณ งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่


การเยี่ยมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ของ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ณ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบ้านขุนวิน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 ธันวาคม 2560


การจัดนิทรรศการทรัพยากรไทย : ศักยภาพมากล้นมีให้เห็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
ในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2560 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาเขตสระบุรี ตำบลผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี


จังหวัดเชียงใหม่ จัดอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ
วันที่ 25 - 28 กันยายน 2560 จังหวัดเชียงใหม่จัดอบรมสร้างเครือข่ายพลเมืองอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมากจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อบรมบุคลากรในระดับจังหวัด ผู้แทนอำเภอ ผู้แทน อปท. โดยมีนายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีปิดการอบรมฯ ณ สิบแสน รีสอร์ท ตำบลกึ้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


การประชุมการจัดทําแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานการประชุมการจัดทําแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่


การประชุมเสวนาวิชาการและนิทรรศการ “งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น :
ถ่ายทอดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ อพ.สธ.สู่ชุมชน ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559”
ระหว่างวันที่  15 - 17  เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  2559 
ณ  ลานหน้าวัดแม่ตะมาน และ โรงเรียนบ้านแม่ตะมาน  หมู่ที่  2  ตำบลกื้ดช้างอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


นำเสนอผลงานวิชาการ งานฐานทรัพยากรท้องถิ่นบนเวทีประชุมวิชาการ
วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม 2559 เวลา 10.00-11 น.
ณ ห้องประชุม อาคาร 602 สำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) พระราชวังดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ


โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น (ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ : น้ำไผ่ สมุนไพรจากธรรมชาติ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามแผนการดำเนินงานจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ.-ตำบลกื้ดช้าง องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


จัดนิทรรศการในการประชุมวิชาการและนิทรรศการ "ทรัพยากรไทย : หวนดูทรัพย์สินตน"
ระหว่างวันที่ 23 -29 มีนาคม 2559
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำบลในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น

คณะกรรมการ

ขอรับทราบแผนปฏิบัติงานฯ งบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2568

ขอรับทราบแผนปฏิบัติงานฯ งบประมาณ ในการดำเนินงานโครงการ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2566

ประกาศที่ อพ.สช. 122/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดเชียงใหม่

ประกาศคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเชียงใหม่ (อพ.สธ.-ชม.) เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานประสานการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปีที่ 6 (1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2564)

แนวทางการดำเนินงานตามกรอบการดำเนินงานตามแผนแม่บท อพ.สธ.ระยะที่ 5 ปีที่ 6 (1 ตุลาคม พ.ศ.2559 - 30 กันยายน พ.ศ.2564)

ติดต่อเรา

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ชั้้น ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ถ.โชตนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์/โทรสาร 0 5311 2703

email : [email protected]